ในการดำเนินคดีอาญาตามปกติซึ่งจะต้องดำเนินการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญานั้น สำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ในฐาน
ะผู้มีหน้าที่กำกับดูแลตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์ พ.ศ.2535 (พ.ร.บ.หลักทรัพย์ฯ) พระราชบัญญัติกองทุนสำรอ
งเลี้ยงชีพ (พ.ศ.2530) (พ.ร.บ.กองทุนฯ) พระราชกำหนดนิติบุคคลเฉพาะกิจเพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ พ
.ศ.2540 (พ.ร.ก.นิติบุคคลเฉพาะกิจฯ) และพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ.2546 (พ.ร.บ.อนุพัน
ธ์และตลาดอนุพันธ์ฯ) จะดำเนินการกล่าวโทษ ต่อพนักงานสอบสวนเพื่อสอบสวนและดำเนินคดีกับผู้กระทำควา
มผิดอย่างไรก็ตาม
มาตรา 317 แห่ง พ.ร.บ.หลักทรัพย์ฯ
มาตรา 42แห่ง พ.ร.บ.หลักทรัพย์ฯ แห่งพ.ร.บ.กอง
ทุนฯ
มาตรา 43 แห่งพ.ร.ก. นิติบุคคลเฉพาะกิจฯ และ
มาตรา155แห่งพ.ร.บ.สัญญาซื้อขายล่วงหน้าฯ กำหนดให้คว
ามผิดตามประเภทที่กำหนด สามารถเปรียบเทียบความผิดได้โดยคณะกรรมการเปรียบเทียบที่รัฐมนตรีว่าการก
ระทรวงการคลังแต่งตั้งโดยให้ถือว่าคดีเป็นอันเลิกกันหากได้ยอมรับการเปรียบเทียบและชำระค่าปรับครบถ้ว
น ภายในระยะเวลาที่กำหนด สำหรับกรณีความผิดที่ไม่ได้ระบุไว้ในมาตราที่กล่าวข้างต้น ซึ่งไม่สามารถเปรียบเทียบปรั
บได้หรือกรณีที่ผู้กระทำผิดไม่ยินยอมรับการเปรียบเทียบความผิด สำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. จะดำเนินการกล่า
วโทษต่อพนักงานสอบสวนกองบังคับการสืบสวนสอบสวนคดีเศรษฐกิจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ หรือพนักงานสอบ
สวนคดีพิเศษ กรมสอบสวนคดีพิเศษ กระทรวงยุติธรรม แล้วแต่ลักษณะความผิดเพื่อดำเนินการตรวจสอบหรือรวบรวม
พยานหลักฐานตามประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญาต่อไป โดยหากพนักงานสอบสวนเห็นว่ามีการกระ
ทำที่เข้าข่ายเป็นการปฏิบัติฝ่าฝืนกฎหมาย ก็จะส่งเรื่องให้พนักงานอัยการพิจารณาสั่งฟ้องคดีต่อศาลอาญา
ต่อไป