Sign In
หน้า 'ABOUTUS/STAKEHOLDERSINCAPITALMARKET' ยังไม่มีข้อมูลใน Library 'Site_Menu_Detail' กรุณาเพิ่มข้อมูลใน Library ดังกล่าว
รู้จัก ก.ล.ต.

​​​​​​​​​​​​​​​​​​ผู้มีส่วนร่วมในตลาดทุน​​​​​​​​​​  (Stakeholders)  


สรุปการวิเคราะห์ความต้องการ และการตอบสนองความต้องการของผู้มีส่วนร่วมในตลาดทุน



 ผู้ลงทุน


​ความต้องการ​​
กระบวนการที่ใช้ตอบสนอง​​นโยบายและหลักการ
  • ​ ใช้ประโยชน์จากตลาดทุนด้วยการลงทุนอย่างมั่นใจ มีทางเลือกในสินค้าที่หลากหลาย ตรงกับความต้องการและเป้าหมาย

  •  ได้รับความรู้และคำแนะนำเกี่ยวกับการลงทุน และการจัดการทรัพย์สินให้เกิดมูลค่าเพิ่ม

  • ได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง ครบถ้วนทันเวลา

  • เข้าใจในสินค้าการลงทุนเพื่อให้มีทางเลือกมากขึ้น และตัดสินใจได้อย่างถูกต้องมีช่องทางให้ร้องเรียนเมื่อประสบปัญหา




  • ​ศึกษาและพัฒนาสินค้าการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนและความเสี่ยงเหมาะสมกับผู้ลงทุนแต่ละกลุ่ม

  • ดูแลและปรับปรุงหลักเกณฑ์การกำกับดูแลวิธีการทำงาน และการตรวจสอบให้เท่าทันสถานการณ์

  • ให้ความรู้การลงทุนผ่านสื่อต่าง ๆ ที่เข้ากับวิถีชีวิตของผู้ลงทุนในปัจจุบัน ทั้งสื่อในรูปแบบเดิมและสื่อสังคมออนไลน์ และออกพบปะผู้ลงทุนในงานนิทรรศการ รวมทั้งให้มี fact sheet สรุปสาระสำคัญของสินค้า เพื่อประโยชน์ในการตัดสินใจลงทุน

  • มีศูนย์รับเรื่องร้องเรียน “SEC Help Center” เป็นช่องทางติดต่อกับผู้ลงทุน

  • ​ตลาดทุนต้องตอบสนองความต้องการในการลงทุนของประชาชนได้และด้วยต้นทุนที่เหมาะสม

  • ตลาดทุนและผู้ที่เกี่ยวข้องต้องสร้างความเชื่อมั่นให้เกิดขึ้นในตลาดทุน




​​


ผู้ต้องการระดมทุน / บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ / บริษัทจดทะเบียน​


​ความต้องก​าร​​
กระบวนการที่ใช้ตอบสนอง​
นโยบายและหลักการ​​
  • ​​ใช้ประโยชน์จากตลาดทุนด้วยการระดมทุนที่มีช่องทางให้เลือกหลากหลาย

  • ได้รับความรู้และคำแนะนำในการระดมทุน

  • พิจารณาการออกเสนอขายหลักทรัพย์อย่างรวดเร็ว

  • หลักเกณฑ์ที่ไม่เป็นภาระเกินควร

  • รู้และเข้าใจความคาดหวังของหน่วยงานกำกับดูแล

  • มีส่วนร่วมหรือรับรู้กฎเกณฑ์ก่อนบังคับใช้




  • ​กำหนดขั้นตอนกระบวนการพิจารณาการออกเสนอขายหลักทรัพย์ที่กระชับแต่ยังคงความรอบคอบ รัดกุม

  • รับฟังความคิดเห็นของผู้ที่เกี่ยวข้องก่อนออกหรือแก้ไขหลักเกณฑ์

  • ให้คำปรึกษาเพื่อให้สามารถปฏิบัติตามกฎระเบียบได้อย่างถูกต้อง

  • ทบทวนหลักเกณฑ์และปรับลดหน้าที่ที่เป็นภาระที่ไม่จำเป็น

  • จัดประชุมรายไตรมาสกับสมาคมที่เกี่ยวข้องเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น 




  • ​ส่งเสริมการแข่งขันอย่างเป็นธรรมโดยทำให้ตลาดทุนเป็นแหล่งระดมทุนที่ให้ความเท่าเทียมแก่ธุรกิจทุกขนาดทุกประเภท และที่อยู่ในทุกภูมิภาครวมถึงบริษัทต้องมีศักยภาพในการเติบโต ขณะเดียวกัน ต้องป้องกันไม่ให้บริษัทที่ไม่เหมาะสมเข้าระดมทุนจากประชาชน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ลงทุน ทำลายความเชื่อมั่นต่อตลาดทุน

  • บริษัทจดทะเบียนต้องมีการกำกับดูแลกิจการที่ดีเพื่อประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ถือหุ้น โดยคำนึงถึงผลกระทบต่อสังคมสิ่งแวดล้อม และผู้มีส่วนได้เสีย

  • บริษัทจดทะเบียนต้องเปิดเผยข้อมูลอย่างครบถ้วน ถูกต้อง และทันเวลาเพื่อให้ผู้ลงทุนสามารถตัดสินใจได้อย่างถูกต้อง



ผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และสัญญาซื้อขายล่วงหน้า


​ความต้องการ
​กระบวนการที่ใช้ตอบสนอง
​นโยบายและหลักการ
  • ​รู้ทิศทางในการปรับตัวทางธุรกิจเพื่อให้แข่งขันได้ในสภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว

  • ลดต้นทุนที่ไม่จำเป็นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการแข่งขัน

  • การแข่งขันที่เป็นธรรมและเสมอภาค

  • รู้และเข้าใจความคาดหวังของหน่วยงานกำกับดูแล

  • มีส่วนร่วมหรือรับรู้กฎเกณฑ์ก่อนบังคับใช้




  • ศึกษาแนวโน้มของธุรกิจของต่างประเทศ เพื่อร่วมกับสมาคมกำหนดทิศทางของธุรกิจหลักทรัพย์ไทย

  • จัดประชุมรายไตรมาสกับสมาคมที่เกี่ยวข้องเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลและความคิดเห็น

  • ทบทวนหลักเกณฑ์ให้สอดคล้องกับสถานการณ์และปรับลดหน้าที่ที่เป็นภาระที่ไม่จำเป็น

  • รับฟังความคิดเห็นของผู้ที่เกี่ยวข้องก่อนออกหรือแก้ไขหลักเกณฑ์

  • ซักซ้อมหลักเกณฑ์ใหม่เพื่อให้เข้าใจถึงเจตนารมณ์เพื่อให้ปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง

  • จัดอบรมให้ความรู้แก่เจ้าหน้าที่ของบริษัทอย่างสม่ำเสมอ

  • ซักซ้อมความเข้าใจในกระบวนการตรวจสอบ

  • ธุรกิจต้องมีเสถียรภาพ มีการดำเนินงานและให้บริการที่ดีแก่ลูกค้าโดยต้องบริหารจัดการความเสี่ยงที่สำคัญอย่างครบถ้วน เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายที่จะกระทบไปถึงผู้ลงทุนและตลาดโดยรวม

  • ธุรกิจต้องแข่งขันอย่างสร้างสรรค์และเป็นธรรม รวมทั้งต้องมีการร่วมมือกันที่จะพัฒนาอุตสาหกรรมให้ก้าวหน้าและมีความยั่งยืน

  • หลักเกณฑ์ควรกำหนดอย่างยืดหยุ่นเพื่อไม่ให้เป็นอุปสรรคต่อการแข่งขัน





ผู้ประกอบวิชาชีพในตลาดทุน (ผู้สอบบัญชี ที่ปรึกษาทางการเงิน ผู้ประเมินมูลค่าทรัพย์สิน บริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือ)​

​ความต้องการ​​
​กระบวนการที่ใช้ตอบสนอง
​นโยบายและหลักการ
  • ​ปฏิบัติได้อย่างถูกต้องตา มหลักเกณฑ์ เพื่อให้ระบวนการการขออนุญาตหรือขอความเห็นชอบเป็นไปอย่างรวดเร็ว

  • กฎเกณฑ์เข้าใจง่าย สามารถปฏิบัติได้ และมีคู่มือหรือแนวทางในการปฏิบัติที่ชัดเจน




  • ​รับฟังความคิดเห็นของผู้ที่เกี่ยวข้องก่อนออกหรือแก้ไขหลักเกณฑ์

  • ซักซ้อมหลักเกณฑ์ใหม่เพื่อให้เข้าใจถึงเจตนารมณ์เพื่อให้ปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง

  • ทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่องเพื่อรับทราบปัญหาและให้คำปรึกษาเพื่อปรับปรุงได้โดยเร็ว

  • จัดอบรมให้ความรู้อย่างสม่ำเสมอ

  • ​​ผู้ประกอบวิชาชีพในตลาดทุนเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการกลั่นกรองให้คำแนะนำ และช่วยในการนำข้อมูลที่ถูกต้องเปิดเผยต่อผู้ลงทุน ดังนั้น จึงต้องเป็นผู้มีความรู้ และใช้ความรู้ความสามารถอย่างเต็มที่ โดยต้องปฏิบัติงานอย่างมีจรรยาบรรณ ได้มาตรฐานและมีความรับผิดชอบในระดับผู้ประกอบวิชาชีพ



สมาคมที่เกี่ยวข้อง


​ความต้องการ
​​กระบวนการที่ใช้ตอบสนอง
​นโยบายและหลักการ
  • ​การสนับสนุนในการทำหน้าที่เป็นองค์กรกำกับดูแลตนเอง (Self - RegulatoryOrganization: SRO) ในการดูแลสมาชิกซึ่งจะคล่องตัวกว่า

  • การสนับสนุนในกิจกรรม SRO

  • ​สนับสนุนให้ทำหน้าที่ SRO 

  • ข้าร่วมกิจกรรมเพื่อกระชับความสัมพันธ์

  • จัดการประชุมร่วมกันทุกไตรมาส

  • สนับสนุนกิจกรรมของสมาคม ได้แก่ บุคลากร ข้อมูล และงบประมาณ (แล้วแต่กรณี)

  • ​ เน้นบทบาทในการอำนวยความ

  • สะดวกและให้ความช่วยเหลือ (facilitator)มากกว่าการเป็นผู้กำกับดูแล (regulator)






ตลาดหลักทรัพย์ / ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ / สำนักหักบัญชี


​​ความต้องการ​​
​กระบวนการที่ใช้ตอบสนอง
​​นโยบายและหลักการ
  • ​​การปรับตัวเพื่อให้แข่งขันได้ในสภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว

  • การสนับสนุนในการปฏิบัติหน้าที่ SRO

  • ช่องทางการหารือ ติดตามความคืบน้าประเด็นที่มีความสำคัญต่อ

  • แผนงานและการดำเนินงาน และควารวดเร็วในการพิจารณา / ให้ความเห็นชอบในเรื่องต่าง ๆ




  • ​สนับสนุนและผลักดันความคิดริเริ่มใหม่ ๆ ที่เป็นประโยชน์

  • จัดประชุมร่วมกันทุกไตรมาสเพื่อแจ้งความคืบหน้าในงานที่สำคัญ และแลกเปลี่ยนข้อมูลและความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาตลาดทุน

  • ให้ความสำคัญต่อกำหนดเวลาของงานที่ทำร่วมกัน

  • ผู้บริหารระดับสูงหารือกันอย่างใกล้ชิดและสม่ำเสมอ

  • จัดกิจกรรมกระชับความสัมพันธ์ระหว่างกัน

  • ​ระบบซื้อขายหลักทรัพย์ ระบบส่งมอบหลักทรัพย์ ระบบชำระราคาต้องมีความมั่นคงและเชื่อถือได้

  • การทำงานต้องมีเป้าหมายร่วมกันและประสานงาน หารือกันอย่างใกล้ชิด



ผู้ต้องสงสัยว่ากระทำผิด / ผู้มาสอบถ้อยคำ


​ความต้องก​าร
​กระบวนการที่ใช้ตอบสนอง
​นโยบายและหลักการ
  • ​ได้รับการปฏิบัติอย่างเป็นมิตร

  • รู้ถึงสาเหตุที่ต้องสงสัยหรือถูกเรียกสอบ



  • ติดต่อด้วยความสุภาพ เป็นมิตรให้ความเข้าใจในเรื่องที่ต้องสงสัย

  • แจ้งสิทธิและผลตามกฎหมาย รวมทั้งหากได้รับการปฏิบัติที่ไม่พึงพอใจสามารถร้องเรียนได้

  • อธิบายขั้นตอนและวิธีปฏิบัติให้รู้ล่วงหน้า

  • ​ปฏิบัติอย่างเป็นธรรมตามหลักสิทธิมนุษยชน

  • ใช้กลไกการป้องกันก่อนเกิดการกระทำผิดโดยการให้ความรู้และการเตือน






ผู้รับงาน / ผู้รับจ้าง



​​ความต้องการ​

​กระบวนการที่ใช้ตอบสนอง

​นโยบายและหลักการ

  • ​ได้รับโอกาสในการรับงานอย่างเท่าเทียม

  • รายละเอียดและเงื่อนไขของงานมีความชัดเจน เปิดเผยเป็นการทั่วไป

  • เงื่อนไขการจ้างที่เป็นธรรม

  • ได้รับชำระเงินตรงเวลา




  • ​มีระเบียบปฏิบัติในการจัดซื้อจัดจ้างที่โปร่งใส

  • เปิดเผยรายละเอียดของงานจัดซื้อจัดจ้างที่มีขนาดใหญ่ทางเว็บไซต์ เพื่อให้ผู้ที่สนใจรับรู้ทั่วกัน

  • พิจารณาบนข้อมูลความสมเหตุสมผล และบันทึกการพิจารณานั้นไว้ให้ชัดเจน และสามารถตรวจสอบได้

  • มีขั้นตอนการตรวจรับงานและกำหนดระยะเวลาการชำระเงินตามมาตรฐาน

  • ​การจัดซื้อจัดจ้างต้องเป็นไปอย่างโปร่งใส และเป็นไปตามระเบียบปฏิบัติที่กำหนดไว้ ซึ่งสอดคล้องกับแนวปฏิบัติของหน่วยงานทางการอื่น และกฎหมายว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้าง






พนักงาน


​ความต้อ​งการ
​กระบวนการที่ใช้ตอบสนอง
​นโยบายและหลักการ
  • การมีส่วนร่วมในการพัฒนาและสร้างคุณค่าให้แก่ระบบเศรษฐกิจ สังคมของประเทศ

  • การพัฒนาด้านความรู้และทักษะ

  • ค่าตอบแทนและสวัสดิการ

  • ความมั่นคงและความก้าวหน้า

  • ความปลอดภัยและการช่วยเหลือในการทำงานที่มีความเสี่ยง

  • ความสมดุลระหว่างการทำงานกับชีวิตส่วนตัว (work life balance)




  • ​การมอบหมายและให้โอกาสสร้างสรรค์งานที่มีคุณค่า

  • สำรวจความผูกพันต่อองค์กรของพนักงาน (Engagement Survey)

  • ​สำรวจอัตราค่าตอบแทนและสวัสดิการในธุรกิจ / หน่วยงาน ที่มีลักษณะงานใกล้เคียงกัน

  • พัฒนาความรู้พนักงานตามกลุ่มงาน และพัฒนาทักษะตามระดับงานที่รับผิดชอบ รวมทั้งให้ความรู้ในเรื่องสถานการณ์รอบตัวอย่างสม่ำเสมอ

  • ใช้เทคโนโลยีการสื่อสารในการแบ่งปันความรู้ (knowledge sharing) และจัดทำคู่มือการปฏิบัติงาน

  • จัดให้มีระบบรักษาความปลอดภัยให้รัดกุมและกำหนดค่าเสี่ยงภัยให้แก่พนักงานเฉพาะกลุ่ม

  • สนับสนุนค่าใช้จ่ายบางส่วนแก่ชมรมกีฬาและสันทนาการ รวมทั้งเปิดพื้นที่ให้พนักงานทำกิจกรรมร่วมกันในเวลาเลิกงาน​

  • ​ใช้หล้ กความเสมอภาคและยุติธรรมโดยให้โอกาสและสิทธิเข้าสู่ระบบการทำงานอย่างเท่าเทียมกัน

  • ใช้หลักความสามารถ โดยความสามารถเป็นตัวกำหนดสำคัญในการสรรหา รักษา และโอกาสก้าวหน้า และการพัฒนาความสามารถเป็นหน้าที่หลักของ ก.ล.ต. ต่อพนักงาน

  • ใช้หลักผลงาน โดยผลงานเป็นเป้าหมายในการทำงาน จึงต้องจัดให้มีการประเมินผลที่ชัดเจนและเป็นธรรมเพื่อให้ผลตอบแทน​




หน่วยงานทางการอื่น (เช่น รัฐบาล กระทรวงการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในกระบวนการยุติธรรม เป็นต้น)



​ความต้องการ​​
​กระบวนการที่ใช้ตอบสนอง
​นโยบายและหลักการ
  • ​การประสานความร่วมมือทั้งในเชิงของการแลกเปลี่ยนข้อมูล และการทำงานร่วมกันเพื่อให้การกำกับดูแลและพัฒนาตลาดทุนมีประสิทธิภาพ




  • ​จัดประชุม / สัมมนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในเรื่องที่ต้องทำงานร่วมกัน เช่น การกำกับดูแลผู้ขายตราสาร มาตรการทางภาษี การให้ความรู้ทางการเงิน การดำเนินมาตรการต่อต้านคอร์รัปชันเป็นต้น

  • จัดอบรมให้ความรู้กับหน่วยงานที่มีส่วนในการบังคับใช้กฎหมาย และผู้ที่เกี่ยวข้องในกระบวนการยุติธรรม เช่น ผู้พิพากษา อัยการกรมสอบสวนคดีพิเศษ

  • ​​ส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือในเชิงบูรณาการ เนื่องจากความสำเร็จของการพัฒนาตลาดทุนต้องอาศัยการผนึกกำลังในการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง








หน่วยงานต่างประเทศ (เช่น IOSCO ธนาคารโลก ธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย หน่วยงานที่ทำหน้าที่กำกับดูแลและพัฒนาตลาดทุนของประเทศต่าง ๆ หน่วยงานที่กำกับดูแลและออกมาตรฐานต่าง ๆ เช่น มาตรฐานทางบัญชี เป็นต้น)



​​ความต้องการ​​
​กระบวนการที่ใช้ตอบสนอง
​นโยบายและหลักการ
  • ความมั่นใจต่อระบบกำกับดูแลและพัฒนาตลาดทุนที่ทัดเทียมได้กับมาตรฐานสากล

  • การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการกำกับดูแลและพัฒนาตลาดทุน รวมถึงงานให้ความรู้ผู้ลงทุนของ ก.ล.ต. ประเทศต่าง ๆ




  • ​ศึกษาและติดตามความเคลื่อนไหวของแนวทางและมาตรฐานระบบกำกับดูแลและพัฒนาตลาดทุนที่เป็นที่ยอมรับในระดับสากล วิเคราะห์ ประเมินและพิจารณาปรับให้เข้ากับการนำมาใช้ในตลาดทุนไทย

  • ตอบแบบสำรวจ (questionnaire) ตามที่หน่วยงานอื่นสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินงานและพัฒนาการในด้านต่าง ๆ ของ ก.ล.ต. รวมถึงร่วมประชุมและสัมมนาตามวาระโอกาสต่าง ๆ​

  • ​มาตรฐานการดำเนินงานในเรื่องสำคัญ ๆ จะต้องสอดคล้องกับสากล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในภูมิภาคอาเซียน ด้วยกัน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันอย่างยั่งยืน และเพื่อให้ตลาดทุนไทยเป็นแหล่งลงทุนที่น่าสนใจสำหรับผู้ลงทุนทั่วโลกในระยะยาว







สื่อมวลชน


​ความต้องการ​​
​กระบวนการที่ใช้ตอบสนอง​
​​นโยบายและหลักการ​
  • ​ข้อมูล ข่าวสาร รายละเอียดที่มีความถูกต้องและชัดเจน เกี่ยวกับภารกิจของ ก.ล.ต. และงานในการกำกับดูแลตลาดทุนไทยที่เกี่ยวข้อง

  • ​จัดแถลงข่าว และงานพบปะสื่อมวลชนเป็นระยะ และจัดให้ความรู้เพิ่มเติมกรณีมีหัวข้อข่าวที่ต้องทำความเข้าใจหรือให้ความรู้กับสื่อมวลชนเป็นกรณีพิเศษ

  • ปฏิบัติต่อสื่อมวลชนด้วยความสุภาพและเท่าเทียมเสมือนเพื่อนร่วมงาน



​​

ฝ่ายสื่อสารองค์กร

โทรศัพท์  0-2263-6008