Sign In
กฎเกณฑ์

​​​​​​การจัดตั้งกองทุนรวม

1. การยื่นคำขอ


การยื่นคำขอกำหนดให้ต้องมีเอกสารหลักฐาน คือ รายละเอียดของโครงการจัดการลงทุน ร่างข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทหลักทรัพย์ และร่างสัญญาจัดตั้งผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวม (ม.118)

 

ทั้งนี้ ข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทหลักทรัพย์ ต้องมีสาระสำคัญ เช่น สิทธิของผู้ถือหน่วยลงทุน และการเลิกกองทุนรวม เป็นต้น (ม.119)

 

และสัญญาจัดตั้งผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวม ต้องไม่มีข้อจำกัดความรับผิดของบริษัทหลักทรัพย์และผู้ดูแลผลประโยชน์ในลักษณะที่ไม่เป็นธรรมต่อผู้ถือหน่วยลงทุน (ม.120)

 

บริษัทจัดการกองทุนรวมสามารถยื่นคำขออนุมัติจัดตั้งกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไปและกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย (AI Fund) รวมถึงกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ (UI Fund) โดยการยื่นคำขออนุมัติจัดตั้งกองทุนรวมจะต้องเป็นไปตามข้อกำหนด ดังนี้​


​(1) นโยบายการลงทุน

    • กำหนดนโยบายการลงทุนให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในประกาศการลงทุน

    • กรณีที่เป็นการขออนุมัติจัดตั้งกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย (AI Fund) และกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ (UI Fund) ต้องไม่กำหนดนโยบายการลงทุนในลักษณะของกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) หรือกองทุนรวมอีทีเอฟ (ETF) หรือกองทุนรวมเพื่อการออม (SSF)​

​(2) การแบ่งชนิดของหน่วยลงทุน (multi-class) หน่วยลงทุนของกองทุนรวมอาจแบ่งเป็นหลายชนิดได้ โดต้องกำหนดสิทธิและผลประโยชน์ตอบแทนในหน่วยลงทุนชนิดเดียวกันอย่างเท่าเทียมกัน (ไม่อนุญาตให้แบ่ง class หน่วยลงทุนตามประเภททรัพย์สิน) โดยแบ่งได้ตามกรณีดังนี้


การแบ่ง Class
ตัวอย่าง

Class A

Class B

(1) แบ่งชนิดตามค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายที่เรียกเก็บจากผู้ถือหน่วยลงทุน

ผู้ถือหน่วยเป็นผู้ลงทุนสถาบัน ซึ่งมีมูลค่าขั้นต่ำในการซื้อหน่วยลงทุน 1 ล้านบาท จะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการจัดการ 0.05% ของ NAV

ผู้ถือหน่วยลงทุนเป็นผู้ลงทุนรายย่อย มีมูลค่าขั้นต่ำในการซื้อหน่วยลงทุน 1,000 บาท จะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการจัดการ 0.1% ของ NAV

(2) แบ่งชนิดตามระยะเวลาการขายและรับซื้อคืนหน่วยลงทุน

ขายและรับซื้อคืนทุกวันทำการ

ขายและรับซื้อคืนเดือนละ 1 ครั้ง

(3) แบ่งชนิดตามสิทธิที่จะได้รับเงินปันผล

ไม่มีนโยบายการจ่ายเงินปันผล

มีนโยบายจ่ายเงินปันผล

(4) แบ่งชนิดตามอัตราผลประโยชน์ตอบแทนที่ผู้ถือหน่วยลงทุนจะได้รับจากการลงทุนในหน่วยลงทุน

ผลตอบแทนกำหนดที่ร้อยละ 3

ผลตอบแทนจะขึ้นกับผลตอบแทนที่กองทุนได้รับหักด้วยผลตอบแทนที่ให้กับ Class A โดยได้รับเมื่อ Class A ได้รับเรียบร้อยแล้ว

(5) แบ่งชนิดสำหรับกรณีเงินที่รับโอนจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD) หรือเงินดังกล่าวพร้อมผลประโยชน์ที่รับโอนต่อเนื่องจาก RMF อื่น (ใช้ RMF เดิม แทนการจัดตั้งกองใหม่)

ผู้ถือหน่วยลงทุนทั่วไป

ผู้ถือหน่วยลงทุนเป็นผู้ลงทุนที่โอนมาจาก PVD

(6) กรณีอื่นใดตามที่ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงาน ก.ล.ต. โดยต้องปฏิบัติได้จริงและคำนึงถึงผลประโยชน์ของผู้ถือหน่วยโดยรวม และผลกระทบที่ผู้ถือหน่วยลงทุนแต่ละชนิดจะได้รับ

 

 ​

​(7) สิทธิประโยชน์ทางภาษีเพื่อส่งเสริมการออมระยะยาวของผู้ลงทุน (SSF)

​ผู้ถือหน่วยลงทุนทั่วไป

ผู้ถือหน่วยลงทุนที่ต้องการลงทุนเพื่อรับสิทธิประโยชน์ทางภาษี และมีการลงทุนเป็นไปตามเงื่อนไขที่กรมสรรพากรกำหนด


​(3) การกำหนดชื่อกองทุนรวม การกำหนดชื่อกองทุนรวมต้องไม่ทำให้ผู้ลงทุนเข้าใจผิดในลักษณะ ประเภท ความเสี่ยง หรือผลตอบแทนของกองทุนรวม และต้องเป็นไปตามเกณฑ์ดังนี้

  1. กรณีเป็นกองทุนรวมหน่วยลงทุนที่ลงทุนในหน่วยของกองโครงสร้างพื้นฐานโดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชี > =  80% ของ NAV ต้องระบุชื่อเฉพาะของกองทุนรวมว่า “กองทุนรวมที่ลงทุนในกองโครงสร้างพื้นฐาน" ด้วย

  2. กรณีกองทุนรวมหมวดอุตสาหกรรม ต้องระบุชื่อของกองทุนให้สะท้อนถึงหมวดอุตสาหกรรมที่กองทุนรวมนั้นมุ่งลงทุนด้วย

  3. กรณีที่เป็นกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อยต้องระบุข้อความ “ห้ามขายผู้ลงทุนรายย่อย" ไว้ในท้ายชื่อของกองทุนรวมด้วย

            (4) การจัดตั้งกองทุนรวมที่มีลักษณะพิเศษ ตัวอย่างเช่น

​                  (4.1) กองทุนรวมมีประกัน

กองทุนรวมที่ต้องจัดให้มีบุคคลอื่นประกันว่าผู้ลงทุนจะได้รับเงินลงทุนและผลตอบแทนตามจำนวนเงินที่ประกันไว้เมื่อครบระยะเวลาที่กำหนด ซึ่งผู้ประกันจะต้องเป็นนิติบุคคล (ที่มิใช่ผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวมดังกล่าว) : ธนาคารพาณิชย์ หรือสถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น ธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ (broker/dealer/TSFC)  หรือสถาบันการเงินต่างประเทศที่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ 4 อันดับแรก

                  (4.2) กองทุนรวม ETF องทุนรวมที่ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้

      • เป็นกองทุนรวมเปิด

      • โครงการต้องระบุเรื่องการขายหรือรับซื้อคืนกับผู้ลงทุนรายใหญ่ การจัดให้มีตลาดรอง และการจัดให้มีผู้ดูแลสภาพคล่องอย่างน้อย 1 ราย

      • ในการซื้อขายกับผู้ดูแลสภาพคล่องหรือผู้ลงทุนรายใหญ่ บลจ. อาจรับชำระค่าซื้อหน่วยลงทุนหรือชำระค่าขายคืนหน่วยลงทุนเป็นหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นแทนเงินก็ได้ โดยต้องระบุให้ชัดเจนในโครงการ

                  (4.3) กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) ต้องเป็นกองทุนรวมเปิดเท่านั้น


            (5) การเพิ่มเงินทุนจดทะเบียนและเงินทุนโครงการ

                     (1) กองทุนรวมปิด ต้องระบุให้ชัดเจนในโครงการตั้งแต่ก่อนการเสนอขายหน่วยลงทุนครั้งแรก

                     (2) กองทุนรวมเปิด จะเพิ่มได้เมื่อระบุให้ชัดเจน (พร้อมขั้นตอนดำเนินการ) ในโครงการ

คำอธิบายนี้มีขึ้นเพื่อประโยชน์ในการเข้าใจสาระสำคัญของกฎหมายเท่านั้น ส่วนการจะปฏิบัติตามกฎหมายให้เป็นไปอย่างถูกต้องนั้น ประชาชนจะต้องศึกษา ทำความเข้าใจ ตรวจสอบ และยึดถือตัวบทกฎหมายเป็นสำคัญ​

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

ฝ่ายนโยบายผู้ประกอบธุรกิจ

โทรศัพท์ 0 2263 6562