Sign In
กฎเกณฑ์

​​​​​​​​​​ตราสารทุน

 หุ้น

 

การเสนอขายหุ้นแก่ประชาชนเป็นการทั่วไป (PO)

 

ให้ความสำคัญในเรื่องการกำกับดูแลกิจการที่ดี ดังนี้

  • การรักษาสิทธิของผู้ถือหุ้น และปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นอย่างเป็นธรรม

    • โครงสร้างการถือหุ้นชัดเจน เป็นธรรม

    • กรรมการ ผู้​บริหาร และผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ไม่มีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ (conflict of interest) หรือมีมาตรการรองรับอย่างเพียงพอ

    • ไม่มีเหตุให้สงสัยว่ากลไกการบริหารจัดการไม่รักษาสิทธิผู้ถือหุ้น ปฏิบัติไม่เป็นธรรม

  • บทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบของกรรมการ/ผู้บริหาร

  • การเปิดเผยข้อมูลครบถ้วนเพียงพอต่อการตัดสินใจลงทุน ไม่ทำให้เข้าใจผิดในสาระสำคัญ (mislead)

  • คุณสมบัติอื่น ๆ


 

สรุปเกณฑ์ที่สำคัญเกี่ยวกับการออกและเสนอขายหุ้น

การขออนุญาต

pic1.png 

กรรมการ ผู้บริหา​ร และผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ไม่มีความขัดแย้งทาง​ผลประโยชน์ (conflict of interest) หรือมีมาตรการรองรับอย่างเพียงพอ​

หลักการ : ผู้มีอำนาจหรือผู้มีอิทธิพลในบริษัทจดทะเบียน (กรรมการ ผู้บริหาร ผู้ถือหุ้นรายใหญ่) มีผลประโยชน์ส่วนตัว (ทั้งทางตรงและทางอ้อม) ซึ่งขัดแย้งกับผลประโยชน์ของบริษัท ทำให้ผู้มีอำนาจหรือผู้มีอิทธิพลนั้นไม่ตัดสินใจหรือไม่ปฏิบัติหน้าที่โดยคำนึงถึงประโยชน์สูงสูดของบริษัท  ดังนั้น

  1. บุคคลที่มีความขัดแย้งต้องไม่ทำธุรกิจแข่งขันกับบริษัท

  2. ไม่มีการทำรายการที่เกี่ยวโยง (RPT) / ไม่มีโอกาสเกิด RPT หรือถ้ามี ก็มีมาตรการป้องกันความขัดแย้งทาง
    ผลประโยชน์ (conflict) ที่เพียงพอ

  3. บริษัทไม่พึ่งพิงธุรกิจของบุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง

  4. การปรับโครงสร้างเพื่อขจัดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ดังต่อไปนี้ต้องเป็นธุรกรรมที่เกิดขึ้นจริง (true transaction)

​​4.1 ผู้บริหาร/ผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัทขายหุ้นของบริษัทที่มีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ออกไปให้บุคคลภายนอก

4.2 ผู้บริหารของบริษัทลาออกจากการเป็นผู้บ​​ริหารของบริษัทที่มีความขัดแย้งทางผลประโยชน์


 

​​​แนวทางแก้ไขความขัดแย้งทา​งผลประโยชน์​​​
​​

ความขัดแย้งทางผลประโยชน์
การแก้ไข
  • การทำรายการระหว่างกัน

  • ต้องมีราคาตลาดอ้างอิง

  • ทำสัญญา/นโยบายที่ชัดเจน

  • กำหนดเงื่อนไขรายการที่เป็นธรรม

  • มีผู้ถือหุ้นกลุ่มอื่นที่สามารถคานอำนาจได้

  • มีการติดตามการทำรายการที่เกิดขึ้น

  • มีการทบทวนความเหมาะสมของแนวทางที่ใช้อยู่เสมอ

  •   การประกอบธุรกิจแข่งขัน


  • การแยกลูกค้าเป้าหมายหรือตลาดอย่างชัดเจน

  • มีผู้ถือหุ้นกลุ่มอื่นที่สามารถคานอำนาจได้

  • ผู้ถือหุ้นใหญ่มีผลประโยชน์ในบริษัทจดทะเบียนมากกว่าบริษัทส่วนตัว

​ 

 บทบาท หน้าที่ แ​ละความรับผิดชอบของกรรมการ/ผู้บริหาร

หลักการ

​​1. คณะกรรมการเข้าใจบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบ (ผ่านการอบรมของ IOD)

2. โครงสร้างมีการตรวจสอบถ่วงดุล

    ​- กรรมการอิสระ และกรรมการตรวจสอบมีความเป็นอิสระตามเกณฑ์

    - กรรมการอิสระมีจำนวน ≥ ​1 ใน 3 ของจำนวนกรรมการทั้งหมด แต่ต้องไม่น้อยกว่า 3 คน

    - ​กรรมการตรวจสอบ มีจำนวนอย่างน้อย 3 คน และอย่างน้อย 1 คน ต้องมีความรู้เพียงพอในการสอบทานความ

      น่าเชื่อถือของงบการเงิน

    - มีการกำหนดขอบเขตการมอบหมายอำนาจหน้าที่ที่ชัดเจน

3. กรรมการ/ผู้บริหารต้องไม่มีลักษณะขาดความน่าไว้วางใจตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดและมีรายชื่ออยู่ในทะเบียนรายชื่อผู้บริหาร (whitelist)

 

คุณสมบัติกรรมการ

​ไม่เป็นบุคคลที่มีลักษณะขาดความน่าไว้วางใจตามที่กำหนด เช่น​

  1. บุคคลล้มละลาย คนไร้ความสามารถ

  2. บุคคลต้องห้ามตามกฎหมายเกี่ยวกับการกำกับดูแลสถาบันการเงินทั้งไทยและต่างประเทศที่ยังอยู่ระหว่างเวลาที่ห้าม ทั้งนี้ เฉพาะในเรื่องเกี่ยวข้องกับการทุจริต ฉ้อโกง/การบริหารงานฝ่าฝืนกฎหมายที่ไม่เป็นไปตามคำสั่งหน่วยงานกำกับดูแล/การกระทำที่ฝ่าฝืนกฎหมาย หรือการกระทำที่ไม่เป็นธรรมหรือเอาเปรียบ

  3. บุคคลที่ศาลพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกในความผิดตามมาตราที่กำหนด ไม่ว่าศาลจะให้รอลงโทษหรือไม่​ 
    และพ้นโทษจำคุกหรือพ้นจากการรอลงโทษมาไม่ถึง 3 ปี

  4. บุคคลที่ศาลพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกในความผิดอาญาแผ่นดินเกี่ยวกับการบริหารงานที่มีลักษณะหลอกลวง ฉ้อโกง ทุจริต ไม่ว่าศาลจะมีคำพิพากษาให้รอการลงโทษหรือไม่ และพ้นโทษจำคุกหรือพ้นจากการรอลงโทษไม่ถึง 3 ปี

  5. ผู้ที่ศาลมีคำสั่งถึงที่สุดให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินตามกฎหมายเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ฟอกเงิน และยังไม่พ้น 3 ปี นับแต่วันที่ศาลมีคำสั่ง

  6. บุคคลที่ ก.ล.ต. กล่าวโทษตามความผิดตาม 3 ต่อพนักงานสอบสวน และอยู่ในกระบวนการของพนักงานสอบสวน อัยการ หรือศาล
    เป็นต้น

 

คุณสมบัติกรรมการอิสระ

  1. ​ถือหุ้นไม่เกิน 1% ของจำนวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียง

  2. ห้ามเป็นกรรมการที่มีส่วนร่วมบริหารงาน ลูกจ้าง พนักงาน ที่ปรึกษาที่ได้รับเงินเดือนประจำ ผู้มีอำนาจควบคุมในช่วง 2 ปีก่อนหน้า
    ผ่อนปรน ในกรณีที่พ้นจากการเป็นข้าราชการหรือที่ปรึกษาของส่วนราชการซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่หรือผู้มีอำนาจควบคุม ไม่ถึง 2 ปี

  3. ห้ามเป็นบุคคลที่มีความสัมพันธ์ทางสายโลหิตหรือโดยการจดทะเบียนตามกฎหมายกับกรรมการหรือผู้บริหาร

  4. ห้ามทำธุรกรรมหรือเป็นผู้ถือหุ้นที่มีนัย หรือผู้มีอำนาจควบคุมของนิติบุคคลที่ทำธุรกรรมกับบริษัท โดยมีมูลค่ารายการ ≥ 20 ลบ. หรือ 3% ของ NTA แล้วแต่จำนวนใดจะต่ำกว่าในช่วง 2 ปีก่อนหน้า

  5. ห้ามเป็นผู้สอบบัญชีของบริษัท บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ผู้มีอำนาจควบคุม ในช่วง 2 ปีก่อนหน้า

  6. ห้ามเป็นผู้ให้บริการทางวิชาชีพอื่นหรือเป็นผู้ถือหุ้นที่มีนัย ผู้มีอำนาจควบคุม หุ้นส่วนของนิติบุคคลที่ให้บริการที่มีการบริการเกิน 2 ลบ. ในช่วง 2 ปีก่อนหน้า
    * กรณีบุคคลที่มีคุณสมบัติไม่เป็นไปตามข้อ 4 และข้อ 6 จะดำรงตำแหน่งกรรมการอิสระได้ก็ต่อเมื่อคณะกรรมการบริษัทแสดงได้ว่า ได้พิจารณาตามหลักมาตรา 89/7 ว่าไม่มีผลกระทบต่อการทำหน้าที่และให้ความเห็นที่เป็นอิสระ และต้องปิดเผยข้อมูลที่กำหนดในหนังสือ​นัดประชุมผู้ถือหุ้น

  7. ไม่เป็นตัวแทนของกรรมการบริษัท ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือผู้เกี่ยวข้องกับผู้ถือหุ้นรายใหญ่

  8. ไม่ประกอบกิจการที่มีสภาพอย่างเดียวกันและเป็นการแข่งขันกับบริษัทและบริษัทย่อย หรือถือหุ้นเกิน 1% หรือเป็นกรรมการที่มีส่วนร่วมบริหารงาน ลูกจ้าง พนักงาน ที่ปรึกษาที่ได้รับเงินเดือนประจำ ผู้มิอำนาจควบคุมในกิจการ
    ดังกล่าว

  9. ไม่มีลักษณะอื่นที่ทำให้ไม่สามารถให้ความเห็นอย่างเป็นอิสระ

  10. กรรมการอิสระเป็นกรรมการอิสระของบริษัทในกลุ่มได้ แต่กรรมการตรวจสอบห้ามเป็นกรรมการของบริษัทใหญ่ บริษัทย่อย หรือบริษัทย่อยลำดับเดียวกัน (บริษัทพี่น้อง) ที่เป็นบริษัทจดทะเบียน

  11. ภายหลังได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการอิสระแล้ว กรรมการอิสระดังกล่าวอาจได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการให้ตัดสินใจในการดำเนินงานกิจการของบริษัท  ของบริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม บริษัทพี่น้อง ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือผู้มีอำนาจควบคุมได้ โดยมีการตัดสินใจในรูปแบบองค์คณะ (collective decision) แต่ กรรมการตรวจสอบห้ามมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในการดำเนินงาน

 

คุณสมบัติกรรมการตรวจสอบ (AC)

  1. ​ได้รับการแต่งตั้งจากคณะกรรมการ หรือที่ประชุมผู้ถือหุ้น

  2. ต้องเป็นกรรมการอิสระ

  3. มีหน้าที่ตามที่ประกาศตลาดหลักทรัพย์ฯ กำหนด

  4. อย่างน้อย 1 คนมีความรู้ และประสบการณ์ในการสอบทานความน่าเชื่อถือของงบการเงิน

 

นิยามของผู้บริหาร


pic2.png 




การเปิดเผยข้อมูล​​

การควบคุมภายในที่ดี

  • กำหนดขอบเขตอำนาจหน้าที่ และการอนุมัติรายการชัดเจนเป็นลายลักษณ์อักษร

  • แยกอำนาจอนุมัติ การบันทึกบัญชี การดูแลทรัพย์สินและการตรวจสอบออกจากกัน

  • ผู้ทำหน้าที่สอบยันกันและกันต้องเป็นอิสระหรือไม่มีผลประโยชน์ร่วม

  • ไม่ให้บุคคลใดบุคคลหนึ่ง มีอำนาจอนุมัติรายการที่ไม่ใช่ธุรกิจปกติในวงเงินที่สูงเกินไปเมื่อเทียบกับขนาดของบริษัท

  • ประเมินความเพียงพอของระบบการควบคุมภายในอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

 

คุณสมบัติ CFO​​ และสมุห์บัญชี

pic3.png 


 ​

การเปิดเผยข้อมูล

ก.ล.ต. กำหนดให้การเสนอขายหลักทรัพย์ต่อผู้ลงทุนต้องในวงกว้างต้องมีการเปิดเผยข้อมูลข้อมูลต่อผู้ลงทุน โดยการเปิดเผยข้อมูลที่ดีควรมีลักษณะที่เป็น free flow คือ นักลงทุนควรมีโอกาสเข้าถึงข้อมูลอย่างเท่าเทียมกัน ข้อมูลที่เปิดเผยต้องมีความถูกต้อง เชื่อถือได้ เพียงพอ และทันต่อเหตุการณ์ อกจากนี้ ควรมีทั้งข้อมูลที่เป็น financial และ non-financial ที่สะท้อนถึงจุดอ่อน และจุดแข็งของบริษัท เพื่อให้ผู้ถือหุ้นมีข้อมูลครบถ้วนในการตัดสินใจ และควบคุมดูแลผู้บริหารทั้งในเรื่องrisk management, financial management และ business strategy  ทั้งนี้ บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ต้องเปิดเผยตามรายการขั้นต่ำในรูปแบบและตามระยะเวลาที่ประกาศกำหนด โดยข้อมูลที่ต้องจัดทำเพื่อประกอบการเสนอขายหลักทรัพย์ คือ

  • แบบแสดงรายการข้อมูล (แบบ 69-1)

  • หนังสือชี้ชวน

และภายหลังเสนอขายหุ้นแล้ว บริษัทมีหน้าที่ต้องเปิดเผยข้อมูลใน

  • แบบ แบบ 56-1 One Report

สำหรับข้อมูลสำคัญที่ต้องเปิดเผย ได้แก่

  • ปัจจัยความเสี่ยง

  • ลักษณะการประกอบธุรกิจ

  • โครงสร้างเงินทุน

  • โครงสร้างการจัดการ

  • รายการระหว่างกัน

  • รายงานประเมินระบบควบคุมภายในจากหน่วยงานตรวจสอบภายใน (IA)

  • คำอธิบายและการวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ (Management Discussion & Analysis : MD&A)

  • เหตุการณ์และปัจจัยที่อาจมีผลต่อการดำเนินงานหรือฐานะการเงินในอนาคตของบริษัทอย่างมีนัยสำคัญ (forward looking)​







ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
ฝ่ายจดทะเบียนตราสารทุน 1 – 2

โดยแบ่งตามหมวดธุรกิจของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ดังนี้

ท่องเที่ยวและสันทนาการ-วัสดุก่อสร้าง
โทรศัพท์ 0-2033-9619 / 0-2263-6124 / 0-2033-9590​ / 0-2263-6065

การแพทย์ – บรรจุภัณฑ์ - บริหารเฉพาะกิจ
โทรศัพท์ 0-2263-6110 / 0-2263-6234 / 0-2263-6248 / 0-2263-6535

ยานยนต์– แฟชั่น - พาณิชย์
โทรศัพท์ 0-2263-6112 / 0-2263-6303 /0-2263-6334 / 0-2263-6204

ธนาคาร - ธุรกิจการเงิน – ประกันภัยและประกันชีวิต
โทรศัพท์ 0-2263-6556 / 0-2263-6085 / 0-2033-9621

สื่อและสิ่งพิมพ์ – ของใช้ส่วนตัวและเวชภัณฑ์ – สินค้าอุปโภคบริโภค
โทรศัพท์ 0-2263-6093 / 0-2033-9949 / 0-2033-4671 / 0-2263-6277

ทรัพยากร – ปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ – บริการเฉพาะกิจ
โทรศัพท์ 0-2033-9610 / 0-2033-9606 / 0-2033-9656 / 0-2263-6550

เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร - ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์
โทรศัพท์ 0-2263-6103 / 0-2033-9528 / 0-2263-6208  / 0-2263- 6514

ไฟฟ้า - เหล็กและผลิตภัณฑ์โลหะ
โทรศัพท์ 0-2033-9976 / 0-2033-9923 / 0-2263-6102 / 0-2033-4636

อาหารและเครื่องดื่ม – ธุรกิจการเกษตร
โทรศัพท์ 0-2033-9628 / 0-2263-6066 /0-2033-4657 / 0-2033-9604

ขนส่งและโลจิสติกส์ – วัสดุอุตสาหกรรมและเครื่องจักร  
โทรศัพท์ 0-2033-9605 /0-2033-4622 / 0-2033-9821 / 0-2263-6367 / 0-2033-9568

ของใช้ในครัวเรือนและสำนักงาน – บริการรับเหมาก่อสร้าง
โทรศัพท์ 0-2263-6111 / 0-2263-6512  / 0-2263-6214  / 0-2033-9947

พัฒนาอสังหาริมทรัพย์
โทรศัพท์ 0-2263-6232 / 0-2033-9520 / 0-2033-4610

กรณีสอบถามเกี่ยวกับระบบข้อมูลรายชื่อกรรมการและผู้บริหารบริษัทจดทะเบียนและบริษัทที่ออกหลักทรัพย์
โทรศัพท์ 0-2263-6113

กรณีสอบถามเกี่ยวกับแบบ 56-1 One Report
โทรศัพท์  0-2263-6098 หรือ 0-2033-9618

สอบถามการส่ง online รายงานแบบ 59 และแบบ 246-2

โทร. 1207 ต่อ 3 ต่อ 1 หรือ email helpdesk@sec.or.th

การเสนอขายหุ้นของวิสาหกิจเพื่อสังคม (SE)

โทรศัพท์ 0-2263 6254

กรณีไม่ระบุชื่อบริษัท

โทรศัพท์ 0-2263-6120 / 0-2033-9908 / 0-2033-4644 / 0-2263-6120

อีเมล corporat@sec.or.th

 

 ​​