Detail Content
ข้อจำกัดการถือหน่วยลงทุน ไม่เกิน 1 ใน 3
การจำกัดการถือหน่วยลงทุน ไม่เกิน 1 ใน 3 มีวัตถุประสงค์เพื่อให้มีการกระจายการถือหน่วยลงทุนโดยไม่ให้กระจุกตัวกับคนใดคนหนึ่ง หรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ซึ่งอาจทำให้มีอำนาจในการจัดการกองทุน หรือใช้กองทุนเป็นเครื่องมือในการแสวงหาผลประโยชน์ เช่น การเลี่ยงภาษี เป็นต้น
สรุปหลักเกณฑ์
1. ข้อจำกัดการถือหน่วยลงทุนที่บุคคลใดหรือกลุ่มบุคคลเดียวกันใดไม่เกิน 1 ใน 3 ของจำนวนหน่วยลงทุนที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมด ยกเว้นกรณีดังต่อไปนี้
2. การพิจารณากลุ่มบุคคลเดียวกัน
3. การดำเนินการเพื่อให้เป็นไปตามเกณฑ์ข้อจำกัด (กรณีถือหน่วยลงทุนเกิน 1 ใน 3 มากกว่า 1 ปี)
4. การดำเนินการเมื่อเกิดการถือหน่วยลงทุนเกิน 1 ใน 3
1. ข้อจำกัดการถือหน่วยลงทุนที่บุคคลใดหรือกลุ่มบุคคลเดียวกันใดไม่เกิน 1 ใน 3 ของจำนวนหน่วยลงทุนที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมด ยกเว้นกรณีดังต่อไปนี้
1.1 ผ่อนผันให้ถือได้ไม่จำกัดสัดส่วน คือ
(1) ผู้ลงทุนสถาบันที่ได้รับยกเว้นภาษีและมีลักษณะเป็น Collective Investment Schemes (CIS) เช่น กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนประกันสังคม กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD) และ กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป (retail fund)
(2) นิติบุคคลตามกฎหมายไทย ซึ่งไม่ต้องเสียเงินภาษีเงินได้นิติบุคคล เช่น ธนาคารออมสิน มูลนิธิ หรือวัด เป็นต้น
(3) บุคคลซึ่งลงทุนใน ASEAN CIS ที่เสนอขายในต่างประเทศ โดยเป็นการลงทุนของผู้ลงทุนต่างด้าว (บุคคล/นิติบุคคล) หรือบัญชีแบบไม่เปิดเผยชื่อ (omnibus account) ของ บล.ต่างประเทศ
1.2 ผ่อนผันแบบมีเงื่อนไข มี 3 กรณี
(1) กรณีถือหน่วยลงทุนโดย ETF โดย PD/MM ที่ได้รับการแต่งตั้งจาก บลจ.
(2) กรณี กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) ที่รับโอนเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
( PVD) หรือ RMF อื่น
(3) กรณีอื่นใดซึ่งเป็นการถือหน่วยลงทุนที่มีระยะเวลาติดต่อกันไม่เกิน 1 ปี เว้นแต่ได้รับการผ่อนผันจาก ก.ล.ต. เนื่องจากมีเหตุจำเป็นและสมควร
2. การพิจารณากลุ่มบุคคลเดียวกัน
2.1 กรณีบุคคลธรรมดา หมายถึง ผู้ถือหน่วยลงทุน คู่สมรส และบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะและกองทุนส่วนบุคคลของบุคคลดังกล่าว
2.2 กรณีนิติบุคคล หมายถึง ผู้ถือหน่วยลงทุน และ
(1) นิติบุคคล และผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วนของนิติบุคคลนั้นซึ่งถือหุ้นหรือเป็นหุ้นส่วน ในนิติบุคคลดังกล่าวไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมเกินกว่าร้อยละ 50 ของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมดหรือความเป็นหุ้นส่วนทั้งหมด
(2) กองทุนส่วนบุคคลหรือผู้ถือหน่วยลงทุน และของบุคคลตามข้อ (1)

3. การดำเนินการเพื่อให้เป็นไปตามเกณฑ์ข้อจำกัด (กรณีถือหน่วยลงทุนเกิน 1 ใน 3 มากกว่า 1 ปี)
การดำเนินการเพื่อให้เป็นไปตามเกณฑ์ 1 ใน 3
4. การดำเนินการเมื่อเกิดการถือหน่วยลงทุนเกิน 1 ใน 3
หากบุคคลใดหรือกลุ่มบุคคลเดียวกันใดถือหน่วยลงทุนเกิน 1 ใน 3 ไม่ว่าจะเป็นการถือหน่วยลงทุนโดยตรงหรือผ่านบุคคลอื่น ซึ่งอาจเกิดจากเหตุต่าง ๆ ได้แก่ การลงทุนเพิ่มเติม การได้รับบยกเว้นตามที่ได้กล่าวไว้ในกรณีที่ได้รับการยกเว้น หรือกรณีที่เกินโดยสุจริต เช่น การถือหน่วยลงทุนเกินโดยไม่ได้เกิดจากการลงทุนเพิ่ม เป็นต้น ให้ บลจ. ดำเนินการดังนี้
| เกินจากการลงทุนเพิ่ม
| เกินจากการได้รับยกเว้น
| เกินโดยสุจริต
|
รายงาน ก.ล.ต. ภายใน 5 วันทำการนับแต่วันที่ บลจ. รู้ โดยให้แสดงแนวทางแก้ไข | / | X | X |
ห้ามนับ vote ส่วนที่เกิน 1 ใน 3* | / | / | / |
จ่ายปันผลได้ทั้งจำนวน | X | / | / |
แก้ไขสัดส่วนภายใน 2 เดือน | / | X | X |
เปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณะ | / | / | / |
* ยกเว้นกรณีการเกิน 1 ใน 3 จากการลงทุนใน ASEAN CIS นับ vote ได้เต็มสัดส่วนการถือ ASEAN CIS
กฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง