Sign In
นโยบายในการดำเนินงาน
​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​
หลักในการดำเนินงาน

นโยบาย


มาตรการภายในเพื่อส่งเสริมค​วามโปร่งใสและป้องกันการทุจริต​






หลักในการดำเนินงาน​

ก.ล.ต. มีนโยบายที่จะทำหน้าที่พัฒนาและกำกับดูแลตลาดทุน เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับตลาดทุน (stakeholders) ทั้งด้าน ผู้ลงทุน ภาคธุรกิจ และประชาชน สามารถลงทุน ระดมทุน ประกอบธุรกิจ หรือใช้ประโยชน์จากตลาดทุนได้อย่างเชื่อมั่น ตามความต้องการที่แตกต่างกัน รวมทั้งเสริมสร้างความน่าเชื่อถือ ประสิทธิภาพของตลาดทุนซึ่งเป็นกลไกทางเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศ  การทำหน้าที่ดังกล่าว ต้องอยู่บนหลักธรรมาภิบาล ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อตรง โปร่งใส เปิดใจ รู้จริง ร่วมมือกับทุกภาคส่วน

หลักในการกำกับดูแลตลาดทุน (Principle of Good Regulations)


ก.ล.ต. ได้วางหลักการของการกำกับดูแลตลาดทุนที่ดี เพื่อเป็นหลักในการดำเนินงานไว้ ดังนี้ 

1.​  มุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ (Outcome focus)  

ก.ล.ต. มุ่งมั่นในการแก้ไขปัญหาและตอบโจทย์ความจำเป็นของ stakeholder ได้ตรงจุดและมีประสิทธิภาพ โดยให้ความสำคัญกับการที่ stakeholder เข้ามามีส่วนร่วมตั้งแต่ต้นกระบวนการ และใช้มุมมองในการทำงานแบบ outside-in

​2. ป็นไปเพื่อความยั่งยืน (Sustainable growth)

ก.ล.ต. มีเป้าหมายในการเสริมสร้างให้ทุกภาคส่วนของตลาดทุนไทยมีความความสัมพันธ์ รับผิดชอบ ตอบรับความต้องการของกันได้อย่างสมดุล รวมทั้งเสริมสร้างการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และรักษาสิ่งแวดล้อมได้อย่างยั่งยืน

3. เสริมสร้างการแข่งขันและนวัตกรรมที่รับผิดชอบ ( Promote Responsible Innovation and Competition)

ก.ล.ต. มีเป้าหมายที่จะเสริมสร้างปัจจัยให้ผู้ประกอบธุรกิจสามารถแข่งขัน และมีการนำเทคโนโลยี นวัตกรรมมาใช้อย่างรับผิดชอบ ในลักษณะที่จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ลงทุน 

4. เคารพความต้องการของผู้มีส่วนร่วมที่แตกต่างกัน (Recognizing the Differences)

ก.ล.ต. ตระหนักว่า ผู้ใช้ประโยชน์จากตลาดทุนแต่ละกลุ่มมีความต้องการ และความพร้อมที่แตกต่างกัน และจะคำนึงถึงความแตกต่างนั้นในการออกแบบมาตรการ/กฎเกณฑ์ให้เหมาะสม เพื่อให้ทุกฝ่ายสามารถใช้ประโยชน์จากตลาดทุนได้ร่วมกัน

​5.  สมเหตุสมผล (Proportionality)

ก.ล.ต. จะเลือกใช้มาตรการ/กฎเกณฑ์ที่เหมาะสมกับสภาพ ปัญหา (สมเหตุ) โดยประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับต้องมากกว่าต้นทุน ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น  และเชื่อมั่นว่ามาตรการ/กฎเกณฑ์ดังกล่าวจะสามารถนำไปสู่ผลที่คาดหวังได้ (สมผล)  รวมทั้งมีการทบทวนความเหมาะสมของมาตรการ/กฎเกณฑ์ดังกล่าวเป็นระยะ ๆ ด้วย

6.  ชัดเจน ปฏิบัติได้ (Clear, Simple, and Practical for Users)

ก.ล.ต. จะให้ความสำคัญกับการออกมาตรการ /กฎเกณฑ์ที่ชัดเจน ด้วยภาษาที่เข้าใจได้ ในรูปแบบและช่องทางที่เข้าถึงได้สะดวก และคำนึงถึงความสามารถในการนำไปปฏิบัติได้จริง


แนวทางและมาตรการที่ใช้


เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าว  ก.ล.ต. ติดตามปัจจัย สภาพแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้มั่นใจว่า แนวทางหรือมาตรการที่ใช้ในการกำกับดูแลมีความเหมาะสมอยู่เสมอ มาตรการดังกล่าวรวมถึง 
  • การใช้อำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย (regulatory discipline) ซึ่งรวมถึง ​​​​การออกหรือทบทวนกฎเกณฑ์ให้เหมาะสม  การพิจารณาคำขออนุญาตหรือใบอนุญาตต่างๆ  การให้เปิดเผยข้อมูล การติดตามดูแลผู้ประกอบธุรกิจ การตรวจสอบการกระทำผิด  การลงโทษ บังคับใช้กฎหมาย 

  • การสร้างกลไกตลาดที่แข็งแรง (market discipline)  ที่เอื้อให้ภาคธุรกิจเกิดการแข่งขันในลักษณะที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ลงทุน และผู้ลงทุนสามารถใช้สิทธิดูแล ตัดสินใจ รักษาประโยชน์ของตน ตลอดจนเป็นแรงผลักดันให้ภาคธุรกิจมีการปฏิบัติที่ดีได้

  • การกระตุ้นให้เกิดแรงจูงใจ วินัยในตนเอง (self discipline) ซึ่งรวมถึง การเสริมสร้างการกำกับดูแลกิจการที่ดี (good corporate governance)  ของกิจการในตลาดทุน  การให้ความรู้ผู้ลงทุน  การให้รางวัลต่าง ๆ เป็นต้น

ก.ล.ต. มีนโยบายที่จะใช้อำนาจออกกฎบังคับตามกฎหมายเพียงเท่าที่จำเป็น เพื่อรักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อย และความเป็นธรรมในตลาดทุน โดยมีนโยบายจะใช้เฉพาะเมื่อไม่สามารถใช้มาตรการอื่นให้ได้ผลตามที่มุ่งหวังแล้วเท่านั้น และจะใช้เทคโนโลยีมาช่วย เพื่อให้สามารถพัฒนา ตอบสนองความต้องการ และแก้ปัญหาของผู้มีส่วนร่วมได้อย่างได้ผล สะดวกรวดเร็วขึ้นด้วย


 

ก.ล.ต. ให้ความสำคัญอย่างมากในเรื่องการมีธรรมาภิบาลที่ดี (Good Governance) เพื่อให้มั่นใจว่า ก.ล.ต. จะปฏิบัติหน้าที่ได้บรรลุวัตถุประสงค์ ตามพันธกิจที่ได้รับมอบหมาย ได้รับความเชื่อมั่นจากผู้ที่อยู่ภายใต้กำกับดูแล ผู้มีส่วนร่วมในตลาดทุน และสังคมโดยรวม ทั้งในระดับประเทศ และระดับสากล  

ก.ล.ต. เคารพและปฏิบัติตามหลักธรรมาภิบาล ที่ครอบคลุมในเรื่อง ดังนี้

1. โครงสร้างการบริหาร กำกับดูแลที่น่าเชื่อถือ  ซึ่งรวมถึงหลัก

  • ความรับผิดชอบต่อผลการปฏิบัติหน้าที่ (Accountability)

  • ความสำนึกในหน้าที่อย่างเต็มความสามารถและมีประสิทธิภาพ (Responsibility)

  • การดำเนินงานด้วยความโปร่งใสตรวจสอบได้ (Transparency)

  • คุณธรรม จริยธรรม (Moral and ethics)

2. การบริหารจัดการ การปฏิบัติหน้าที่ให้บรรลุวัตถุประสงค์ ซึ่งรวมถึงหลัก

  • ความมีประสิทธิผล (effectiveness)  ประสิทธิภาพ (efficiency) ตอบสนอง ​​​และสร้างคุณค่าให้ผู้มีส่วนได้เสีย (responsive and value creation) 

  • ความเคารพในสิทธิและการปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้เสี​ยอย่างสุจริตและเท่าเทียมกัน (Equitable Treatment)

  • รวมถึงการให้โอกาสผู้มีส่วนได้เสียมีส่วนร่วมอย่างเป็นธรรม (Participation)

แนวทางธรรมาภิบาล ก.ล.ต. ​  

จรรยาบรรณพนักงาน​ 

จรรยาบรรณ ข้อกำหนด และวิธีปฏิบัติในการใช้คอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารของสำนักงาน ก.ล.ต. 


การตรวจสอบภายใน

ฝ่ายตรวจสอบภายในมีภารกิจในการให้ความเชื่อมั่นและการให้คำปรึกษากับคณะกรรมการและฝ่ายบริหารเกี่ยวกับระบบการควบคุมภายในตามฐานความเสี่ยงและการกำกับดูแลกิจการที่ดี อย่างเป็นอิสระ เที่ยงธรรม และรู้จริง เพื่อเสริมสร้างให้การดำเนินงานของสำนักงานเป็นไปด้วยความโปร่งใส และน่าเชื่อถือ นอกจากนี้ ยังมีภารกิจในการให้ข้อเสนอแนะในด้านการปรับปรุงการปฏิบัติงานของสำนักงานให้มีประสิทธิภาพและได้มาตรฐาน ซึ่งจะช่วยให้สำนักงานบรรลุพันธกิจ เป้าหมาย และวัตถุประสงค์ในการกำกับและพัฒนาตลาดทุนด้วยการตรวจสอบ ประเมินและปรับปรุงประสิทธิผล ของกระบวนการบริหารความเสี่ยง การควบคุมภายใน การกำกับดูแลกิจการที่ดี และการปฏิบัติ ตามกฎหมาย กฎเกณฑ์ ระเบียบอื่น ๆ อย่างเป็นระบบ (กฎบัตรของฝ่ายตรวจสอบภายใน)

​​

ประมวลจริยธรรมสำนักงาน ก.ล.ต.



นโยบาย  


เพื่อให้การดำเนินงานของ ก.ล.ต. รวมทั้งเจ้าหน้าที่ เป็นไปอย่างโปร่งใส มีมาตรฐาน  คณะกรรมการ ก.ล.ต. และสำนักงาน ได้วางนโยบายในด้านต่างๆ ให้มีการนำไปปฏิบัติ 


 

นโยบาย ก.ล.ต. องค์กรปลอดคอร์รัปชัน

เพื่อให้มั่​นใจว่า การดำเนินงานของ ก.ล.ต. เป็นไปด้วยความซื่อตรง โปร่งใส และปลอดจากการคอร์รัปชัน กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานทุกคน มี​หน้าที่ต้องปฏิบัติให้เป็นไปตาม นโยบาย ก.ล.ต. องค์กรปลอดคอร์รัปชัน​​​ 

นโยบายการไม่รับของขวัญและของกำนัลทุกชนิดจากการปฏิบัติหน้าที่(No Gift Policy)

เพื่อปลุกการรับรู้และปลูกจิตสำนึกให้พนักงานทุกระดับปฏิบัติหน้าที่ด้วยความโปร่งใส มีธรรมาภิบาล และต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันอย่างเป็นรูปธรรม สอดคล้องกับนโยบาย ก.ล.ต. องค์กรปลอดคอร์รัปชันที่กำหนดว่า สำนักงาน ก.ล.ต. เป็นหน่วยงานที่เจ้าหน้าที่ของรัฐทุกคนไม่รับของขวัญและของกำนัลทุกชนิดจากการปฏิบัติหน้าที่ อีกทั้งสอดรับกับระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการให้หรือรับของขวัญของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติว่าด้วยหลักเกณฑ์การรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดโดยธรรมจรรยาของเจ้าพนักงานของรัฐ และแนวทางการขับเคลื่อนแผนการปฏิรูปประเทศด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบว่าด้วยการประกาศนโยบาย No Gift Policy จากการปฏิบัติหน้าที่ สำนักงาน ก.ล.ต. จึงออกคำสั่งไว้ดังนี้


นโยบายการลงทุนเพื่อความยั่งยืน

ก.ล.ต. มีรายได้หลักจากการเก็บค่าธรรมเนียมจากผู้ประกอบธุรกิจและผู้ระดมทุนในตลาดทุน รวมทั้งดอกผลจากทุนประเดิมและสำรองที่กระทรวงการคลังเห็นชอบให้กันไว้ เพื่อให้ ก.ล.ต. มีเงินเพียงพอในการดำเนินงาน รองรับความผันผวนของรายได้ที่ส่วนมากขึ้นอยู่กับสภาพตลาด 

ก.ล.ต. จ้างผู้จัดการลงทุนให้เป็นผู้บริหารเงินลงทุนของสำนักงาน โดย ก.ล.ต. ในฐานะเป็นผู้กำกับดูแลการซื้อขายหลักทรัพย์ด้วย จะกำหนดเพียงนโยบาย และกรอบการลงทุนให้ เพื่อสร้างผลตอบแทนที่ดีที่สุดในระยะยาวโดยมีระดับความเสี่ยงที่เหมาะสม โดย ก.ล.ต. หรือเจ้าหน้าที่ จะไม่เข้าไปเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจซื้อ ขาย ลงทุนในหลักทรัพย์ใดเป็นรายตัว เพื่อรักษาไว้ซึ่งความสุจริต โปร่งใสในการปฏิบัติหน้าที่ 

พื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ในการสร้างผลตอบแทนที่ดีในระยะยาว ภายใต้ความเสี่ยงที่เหมาะสม​ ก.ล.ต. เชื่อว่า ​การลงทุนในกิจการที่มีกลยุทธ์การดำเนินงานที่เป็นไปเพื่อความยั่งยืน มีการกำกับดูแลกิจการที่ดี และมีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม จะนำมาซึ่งผลตอบแทนที่ดี ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความมั่นคงทางการเงินของ ก.ล.ต. ดังนั้น ก.ล.ต. ได้ดำเนินการ​ ประกาศรับ​การปฏิบัติตามหลักธรรมาภิบาลการลงทุน (Investment Government Code : I Code) ​ โดยจะกำหนดนโยบายการลงทุนดังกล่าวให้ผู้จัดการลงทุนปฏิบัติ และเลือกผู้จัดการลงทุนประกาศรับการปฏิบัติตาม I Code เช่นเดียวกันด้วย รรมาภิบาลการลงทุน ก.ล.ต. ​​


นโยบายการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล

ตามที่สำนักงานกำหนดแผนยุทธศาสตร์ตลาดทุน ปี 2567-2569 ให้ความสำคัญกับเป้าหมายในการสร้างความน่าเชื่อถือและความเชื่อมั่นต่อตลาดทุนและสมรรถนะของสำนักงาน (Trust & Confidence) รวมทั้งมีแผนงานสำคัญเพื่อยกระดับบทบาทของสำนักงานในการพัฒนาตลาดทุนเพื่อตอบโจทย์ทิศทางการพัฒนาตลาดทุนของประเทศ และพร้อมรับมือกับความท้าทายที่เปลี่ยนแปลงไป โดยทำให้ตลาดทุนเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญสู่เศรษฐกิจดิจิทัล เป็นกลไกสำคัญสู่ความยั่งยืน และผู้ลงทุนมีศักยภาพในการสร้างสุขภาพทางการเงินที่ดี 

ทั้งนี้ ในการดำเนินการให้สำนักงานมีขีดความสามารถที่จะดำเนินการตามแผนงานและพันธกิจดังกล่าว อย่างมีประสิทธิภาพ และประสบผลสำเร็จอย่างยั่งยืน สำนักงานได้กำหนดแผนยุทธศาสตร์องค์กรในการบริหารจัดการองค์กรและบุคลากร ซึ่งผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. และการนำพัฒนาการของเทคโนโลยีและนวัตกรรมมายกระดับศักยภาพการทำงานของสำนักงาน เพื่อสนับสนุนแผนงานและเป้าหมายดังกล่าว โดยเน้นการวางระบบบริหารบุคคล และการเตรียมจำนวนบุคลากรให้เพียงพอและมีความพร้อมสำหรับบทบาทงานตามพันธกิจ และขับเคลื่อนองค์กรสู่เป้าหมายที่วางไว้ 


นโยบายการจัดการน้ำเสีย และการประหยัดน้ำ​

เพื่อให้สำนักงาน ก.ล.ต. เป็นต้นแบบในการจัดการน้ำเสียตามโครงการ “อาคารราชการต้นแบบในการจัดการน้ำเสีย" ประจำปีงบประมาณ 2563 และเพื่อสร้างจิตสำนึกให้บุคลากรสำนักงาน ก.ล.ต. ได้ตระหนักและให้ความสำคัญด้านการจัดการน้ำเสีย สำนักงาน ก.ล.ต. จึงกำหนดนโยบายด้านการจัดการน้ำเสียและการประหยัดน้ำ


ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

SEC Complaint Center

โทรศัพท์ 1207​