Sign In

​​​​​คำถาม-คำตอบ เกี่ยวกับ “กองทุนเพื่อรักษาสภาพคล่องของการระดมทุนในตลาดตราสารหนี้"
ตามพระราชกำหนดการรักษาเสถียรภาพของระบบการเงินและความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ พ.ศ. 2563

1)  กองทุนเพื่อรักษาสภาพคล่องของการระดมทุนในตลาดตราสารหนี้ มีสถานะอย่างไร
2)  กองทุน BSF มีโครงสร้างการบริหารจัดการอย่างไร
3)  BSF มีความเกี่ยวข้องกับพระราชบัญญัติหลักทรัพย์ฯ อย่างไร​


 

1)  กองทุนเพื่อรักษาสภาพคล่องของการระดมทุนในตลาดตราสารหนี้ มีสถานะอย่างไร

ตอบ   กองทุนเพื่อรักษาสภาพคล่องของการระดมทุนในตลาดตราสารหนี้ (หรือ Corporate Bond Stabilization Fund: BSF)  เป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชกำหนดการรักษาเสถียรภาพของระบบการเงินและความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ พ.ศ. 2563 (“พระราชกำหนดฯ") เพื่อรักษาเสถียรภาพและสภาพคล่องของตราสารหนี้ภาคเอกชน ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019  ด้วยวิธีการลงทุนในตราสารหนี้ภาคเอกชนที่ออกใหม่  โดยมีธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้ถือหน่วยลงทุนแต่เพียงผู้เดียวในระยะเริ่มแรก

การดำเนินการตามพระราชกำหนดฯ มีระยะเวลา 5 ปี  เว้นแต่คณะรัฐมนตรีจะมีมติให้ขยายระยะเวลาออกไปเพื่อรักษาประโยชน์ของรัฐ   ทั้งนี้ ก่อนพ้นกำหนดระยะเวลาดังกล่าว คณะรัฐมนตรีจะเป็นผู้พิจารณาเห็นชอบวิธีและขั้นตอนการยุติการดำเนินการของ BSF  

ดังนั้น การจัดตั้ง BSF และการเสนอขายหน่วยลงทุน จึงเป็นไปตามพระราชกำหนดฯ โดยไม่ต้องดำเนินการตามกระบวนการยื่นคำขอจัดตั้งกองทุนรวม การเสนอขายหน่วยลงทุน และการขอจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวมภายตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 (“พระราชบัญญัติหลักทรัพย์ฯ")

 

2)  กองทุน BSF มีโครงสร้างการบริหารจัดการอย่างไร

ตอบ   การบริหารจัดการ BSF เป็นไปตามพระราชกำหนดฯ ซึ่งกำหนดให้มีคณะกรรมการ 2 ชุด ได้แก่ คณะกรรมการกำกับกองทุนเพื่อรักษาสภาพคล่องของการระดมทุนในตลาดตราสารหนี้ (“คณะกรรมการกำกับกองทุน")  และคณะกรรมการลงทุน  ซึ่งมีองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้  โดยมีพนักงานธนาคารแห่งประเทศไทยที่ผู้ว่าการฯ แต่งตั้ง ทำหน้าที่เป็นเลขานุการ 

 

คณะกร​รมการกำกับกองทุน

คณะกรรมการลงทุน

องค์ประกอบ

  • ปลัดกระทรวงการคลัง (ประธาน)

  • ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (รองประธาน)

  • ผู้อำนวยการ สบน.

  • ผู้อำนวยการ สศค.  

  • ผู้ทรง คุณวุฒิซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งโดยคำแนะนำของผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย จำนวนไม่เกิน 3 คน

  • รองผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย(ประธาน)

  • ผู้แทน สบน.

  • ผู้แทน กบข.

  • ผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งผู้ว่าการธนาคาร
    แห่งประเทศไทยแต่งตั้ง จำนวน
    ไม่เกิน 2 คน

อำนาจหน้าที่

  • กำหนดนโยบาย แนวทางดำเนินการ กรอบการลงทุน และการบริหารความเสี่ยงของกองทุน

  • แต่งตั้งบริษัทจัดการกองทุนรวม

  • กำกับดูแลคณะกรรมการลงทุน

  • กำกับดูแลการลงทุนให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุน และตามโครงการจัดการกองทุน

  • รายงานผลการดำเนินงานต่อรัฐมนตรีประจำทุกปี

  • คัดเลือกตราสารหนี้ที่มีคุณสมบัติ
    ตามพระราชกำหนดฯ และอยู่ภายใต้กรอบการลงทุนของคณะกรรมกำกับกองทุน เพื่อให้ BSF ลงทุน

  • รายงานผลการดำเนินงานต่อคณะกรรมการกำกับกองทุนอย่างน้อยทุก 3 เดือน


ตามที่ปรากฏจากโครงสร้างข้างต้น การลงทุนของ BSF จึงเป็นไปตามการพิจารณาของคณะกรรมการกำกับกองทุนและคณะกรรมการลงทุนตามพระราชกำหนดฯ เป็นสำคัญ  โดยไม่อยู่ภายใต้หลักเกณฑ์การลงทุนของกองทุนรวมและอัตราส่วนการลงทุนที่ออกตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์ฯ

ในส่วนของบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวมนั้น ต้องจัดการ BSF ตามนโยบาย แนวทางดำเนินการ กรอบการลงทุน และการบริหารความเสี่ยงของกองทุน ตลอดจนวัตถุประสงค์จะโครงการจัดการลงทุน โดยลงทุนในตราสารหนี้ที่คณะกรรมการลงทุนคัดเลือก ซึ่งเป็นไปตามบทบัญญัติเฉพาะของพระราชกำหนดฯ  

 

3)  BSF มีความเกี่ยวข้องกับพระราชบัญญัติหลักทรัพย์ฯ อย่างไร​

ตอบ   พระราชกำหนดฯ ให้ถือว่า BSF เป็นกองทุนรวมที่จัดตั้งและดำเนินการตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์ฯ  อย่างไรก็ดี การจัดตั้ง การบริหารและการจัดการลงทุน การมีผู้ถือหน่วยลงทุน รวมทั้งการรายงานผลการดำเนินงานของ BSF ซึ่งเป็นการดำเนินการในส่วนที่เป็นสาระสำคัญของ BSF จะเป็นการดำเนินการตามที่พระราชกำหนดฯ กำหนดไว้โดยเฉพาะดังที่กล่าวไว้ข้างต้นแล้ว  หากดำเนินการในเรื่องที่พระราชกำหนดฯ มิได้กำหนดไว้โดยเฉพาะเท่านั้น จึงจะเป็นไปตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์ฯ เช่น บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวมเป็นผู้แทนนิติบุคคลของกองทุนรวม (โดยบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวมจะดำเนินการภายใต้คณะกรรมการกำกับกองทุนและคณะกรรมการลงทุนตามบทบัญญัติเฉพาะของพระราชกำหนดฯ ดังที่ได้กล่าวไว้ในข้อ 2)  และกองทุนรวมมีสัญชาติเดียวกับบริษัทจัดการกองทุนรวม เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม BSF จะมีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับกฎหมายหลักทรัพย์ หากก่อนพ้นระยะเวลา 5 ปีนับแต่วันที่พระราชกำหนดฯ ใช้บังคับ หากคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบให้ดำเนินการ BSF ต่อไป 
BSF จะต้องแจ้งให้สำนักงาน ก.ล.ต. ทราบ  และจะถือว่ากองทุน BSF ได้รับการจัดตั้งโดยชอบและดำเนินการต่อไปตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์ฯ และในกรณีที่ไม่อาจดำเนินการได้ จะต้องดำเนินการตามที่คณะกรรมการกำกับตลาดทุนกำหนด 


ภาพรวมกา​รดำเนินการของกองทุน BSF

BSF