Sign In
มาตรการป้องกันการรับสินบน

วัตถุประสงค์

 

    ก.ล.ต. เป็นองค์กรของรัฐที่สามารถทำหน้าที่กำกับและพัฒนาตลาดทุนไทยให้มีประสิทธิภาพ โปร่งใส น่าเชื่อถือ เพื่อเอื้ออำนวยต่อการเข้าถึงและจัดการทุนของประชาชนและภาคธุรกิจได้อย่างยั่งยืน และเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ เสริมสร้างประโยชน์สุขให้แก่ประชาชนและสังคมโดยรวม ได้อย่างน่าเชื่อถือดำรงไว้ซึ่งความเป็นองค์กรที่มีธรรมาภิบาล ตลอดจนมีมาตรฐานและจริยธรรมในการปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรฐานสากล สามารถเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่ผู้มีส่วนร่วมในตลาดทุน รวมทั้งผลักดันหน่วยงานต่าง ๆ ภายใต้การกำกับดูแลให้มีบรรษัทภิบาล มีมาตรฐานและจริยธรรมตลอดจนความรับผิดชอบต่อสังคมด้วยเช่นเดียวกัน

    เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ข้างต้น และเพื่อให้กรรมการ เลขาธิการและพนักงานทุกระดับ ยึดมั่นในความซื่อสัตย์สุจริต เป็นธรรม โปร่งใส ถือประโยชน์ของประชาชนและส่วนรวมเป็นที่ตั้ง ปลอดจากการคอร์รัปชันในทุกรูปแบบ คณะกรรมการ ก.ล.ต. ได้มีมติเมื่อวันที่ 5 ​พฤศจิกายน 2557 ให้ประกาศ “นโยบาย ก.ล.ต. องค์กรปลอดคอร์รัปชัน" ไว้ โดยมีสรุปมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันการรับสินบน ดังนี้

 

มาตรการ

 

1. การบริจาคเพื่อการกุศล และเงินสนับสนุน

     (1) การเรี่ยไร การเชิญชวนบริจาคเพื่อการกุศล หรือการรับเงินสนับสนุน อาจใช้เป็นข้ออ้างหรือเส้นทางสำหรับการคอร์รัปชันได้  ดังนั้น กรรมการ เลขาธิการ และพนักงานจึงควรใช้ความระมัดระวังนการเรี่ยไร หรือเชิญชวนบริจาคจากบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของ ก.ล.ต.  

     (2) การให้เงินบริจาค หรือเงินสนับสนุนที่ใช้เงินหรือทรัพย์สินของ ก.ล.ต. ต้องพิสูจน์ได้ว่า มีกิจกรรมตามโครงการนั้นจริง โดยโครงการดังกล่าวต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของ ก.ล.ต. หรือเป็นประโยชน์ต่อสังคมอย่างชัดแจ้ง  ทั้งนี้ ไม่ว่ากรณีใด ๆ การให้เงินบริจาคหรือการสนับสนุนดังกล่าว ต้องไม่มีลักษณะเป็นการให้เพื่อหวังประโยชน์ หรือเป็นประโยชน์ต่างตอบแทนส่วนบุคคลของกรรมการ เลขาธิการ พนักงาน หรือบุคคลอื่น รวมทั้งต้องได้รับอนุมัติจากเลขาธิการ หรือผู้รับมอบอำนาจจากเลขาธิการ


2. การเรียก การรับ การให้ของขวัญหรือประโยชน์อื่นใด ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของ ก.ล.ต.

     (1) กรรมการ เลขาธิการ และพนักงานต้องไม่เรียกหรือร้องขอประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบใด ๆ อันเนื่องมาจากการปฏิบัติหน้าที่ใน ก.ล.ต.  

     (2) กรมการ เลขาธิการ และพนักงานต้องไม่รับของขวัญ หรือประโยชน์อื่นใดจากบุคคลหรือนิติบุคคลใด ๆ อันเนื่องมาจากการปฏิบัติหน้าที่ หรือการดำรงตำแหน่งหน้าที่ใน ก.ล.ต.  เว้นแต่เป็นไปตามประเพณีนิยม ทั้งนี้ โดยใช้ดุลพินิจพิจารณาตามความเหมาะสมด้วย

     (3) กรรมการ เลขาธิการ และพนักงานพึงระวังในการให้ของขวัญหรือประโยชน์อื่นใด แก่เจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือบุคคลอื่นใด ที่ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของ ก.ล.ต. และไม่ว่ากรณีใด ๆ การให้ดังกล่าวต้องไม่มีลักษณะเป็นการให้สินบนหรือผลประโยชน์ตอบแทนในทางมิชอบแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือบุคคลอื่น

     (4) การรับหรือการให้ของขวัญหรือประโยชน์อื่นใด จากบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของ ก.ล.ต. อันเนื่องจากความสัมพันธ์ส่วนตัวไม่อยู่ภายใต้บังคับนโยบายนี้ โดยกรรมการ เลขาธิการ และพนักงานควรพิจารณาความเหมาะสม และหลีกเลี่ยงกรณีที่อาจทำให้เกิดข้อครหาต่อ ก.ล.ต. ด้วย

 

3. การให้ความรู้และการสื่อสาร

    กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานทุกคนจะได้รับการให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันคอร์รัปชันอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ตระหนักถึงนโยบายฉบับนี้ โดยเฉพาะรูปแบบต่าง ๆ ของการรับสินบน ความเสี่ยงจากการเข้าไปมีส่วนร่วมในการรับสินบน ตลอดจนวิธีการรายงานกรณีพบเห็นหรือสงสัยว่ามีการรับสินบนหรือคอร์รัปชัน ทั้งนี้ สามารถอ่านนโยบาย รวมทั้งข้อมูลล่าสุดที่ปรับปรุงแก้ไขได้จาก intranet ของ ก.ล.ต.โดย ก.ล.ต. จะแจ้งให้รมการ ผู้บริหาร และพนักงานทราบหากมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลที่สำคัญ นอกจากนี้ การให้ความรู้เกี่ยวกับนโยบายฉบับนี้ จะเป็นส่วนหนึ่งของการปฐมนิเทศ หรือก่อนการเข้ารับตำแหน่งใหม่

 

4. กรณีที่มีข้อสงสัย

    หากเกิดความไม่มั่นใจว่าการกระทำใด อาจเข้าลักษณะเป็นการรับสินบนหรือการคอร์รัปชัน หรือในกรณีที่มีคำถามหรือข้อสงสัย พนักงานต้องปรึกษากับผู้บังคับบัญชา หรือส่วนงานที่ออกระเบียบปฏิบัติ หรือฝ่ายทรัพยากรบุคคล

 

5. การรายงานการพบเห็นการรับสินบนและการคอร์รัปชัน

     (1) หากกรรมการ เลขาธิการ หรือพนักงานมีเหตุอันควรสงสัยหรือมีหลักฐานว่าอมีกรรมการ เลขาธิการ พนักงานหรือบุคคลซึ่งกระทำการในนาม ก.ล.ต. ได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการรับสินบน หรือการคอร์รัปชัน ให้รายงานต่อประธานคณะกรรมการตรวจสอบ หรือผู้อำนวยการฝ่ายทรัพยากรบุคคล หรือผู้บังคับบัญชาโดยตรง โดยทันที และหากยังไม่ได้รับการแก้ไข ให้รายงานผ่าน ช่องทางการแจ้งเบาะแสตามที่กำหนดในธรรมาภิบาลหรือจรรยาบรรณพนักงาน  เมื่อ ก.ล.ต. ได้รับการรายงานแล้ว จะดำเนินการอย่างจริงจัง และผู้ที่ให้ข้อมูลด้วยเจตนาสุจริตจะได้รับความคุ้มครอง โดยต้องไม่ถูกกลั่นแกล้งใด ๆ

     (2) ก.ล.ต. จัดให้มีช่องทางการแจ้งเบาะแส และอำนวยความสะดวกให้กรรมการเลขาธิการ หรือพนักงานสามารถให้ข้อมูลได้อย่างเต็มที่ตามนโยบาย whistle blowing เพื่อรักษาไว้ซึ่งความน่าเชื่อถือขององค์กร โดย ก.ล.ต. และผู้บริหารทุกคนต้องให้ความมั่นใจกับพนักงานที่ให้ข้อมูลด้วยเจตนาสุจริตว่า จะไม่ถูกลงโทษหรือกลั่นแกล้งใด ๆ  ทั้งนี้ หากผู้แจ้งเบาะแสหรือให้ข้อมูลเชื่อว่า ตนเองถูกข่มขู่ คุกคาม หรือหน่วงเหนี่ยว ให้รายงานต่อประธานคณะกรรมการตรวจสอบ หรือผู้อำนวยการฝ่ายทรัพยากรบุคคล หรือผู้บังคับบัญชาโดยตรงโดยทันที และหากยังไม่ได้รับการแก้ไขให้รายงานผ่าน ช่องทางการแจ้งเบาะแสตามที่กำหนดในธรรมาภิบาลหรือจรรยาบรรณพนักงาน

 

6. การปกป้องดูแลพนักงานที่ปฏิเสธการคอร์รัปชัน

     (1) ก.ล.ต. ให้ความมั่นใจกับพนักงานว่า จะไม่มีพนักงานคนใดต้องถูกลงโทษ ลดตำแหน่ง หรือได้รับผลกระทบใด ๆ จากการปฏิเสธการรับสินบน  นอกจากนี้ ก.ล.ต. จะปกป้องกรรมการ เลขาธิการ และพนักงานทุกคน มิให้ผู้ใดมากระทำการข่มขู่ คุกคาม หรือหน่วงเหนี่ยวผู้ที่ตั้งใจปฏิบัติตามนโยบายฉบับนี้

     (2) หากกรรมการ เลขาธิการ หรือพนักงานเชื่อว่า ตนเองถูกข่มขู่ คุกคาม หรือหน่วงเหนี่ยว อันเกิดจากการปฏิบัติตามนโยบายนี้ ให้รายงานต่อประธานคณะกรรมการตรวจสอบ หรือผู้อำนวยการฝ่ายทรัพยากรบุคคล หรือผู้บังคับบัญชาโดยตรงโดยทันที และหากยังไม่ได้รับการแก้ไขให้รายงานผ่าน ช่องทางการแจ้งเบาะแสตามที่กำหนดในธรรมาภิบาลหรือจรรยาบรรณพนักงาน


หั​​วข้อเดิมใหม่ (ปี 2565)

วัตถุประสงค์

 ก.ล.ต. เป็นองค์กรของรัฐที่สามารถทำหน้าที่กำกับและพัฒนาตลาดทุนไทยให้มีประสิทธิภาพ โปร่งใส น่าเชื่อถือ เพื่อเอื้ออำนวยต่อการเข้าถึงและจัดการทุนของประชาชนและภาคธุรกิจได้อย่างยั่งยืน และเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ เสริมสร้างประโยชน์สุขให้แก่ประชาชนและสังคมโดยรวม ได้อย่างน่าเชื่อถือดำรงไว้ซึ่งความเป็นองค์กรที่มีธรรมาภิบาล ตลอดจนมีมาตรฐานและจริยธรรมในการปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรฐานสากล สามารถเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่ผู้มีส่วนร่วมในตลาดทุน รวมทั้งผลักดันหน่วยงานต่าง ๆ ภายใต้การกำกับดูแลให้มีบรรษัทภิบาล มีมาตรฐานและจริยธรรมตลอดจนความรับผิดชอบต่อสังคมด้วยเช่นเดียวกัน

    เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ข้างต้น และเพื่อให้กรรมการ เลขาธิการและพนักงานทุกระดับ ยึดมั่นในความซื่อสัตย์สุจริต เป็นธรรม โปร่งใส ถือประโยชน์ของประชาชนและส่วนรวมเป็นที่ตั้ง ปลอดจากการคอร์รัปชันในทุกรูปแบบ คณะกรรมการ ก.ล.ต. ได้มีมติเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2557 ให้ประกาศ “นโยบาย ก.ล.ต. องค์กรปลอดคอร์รัปชัน" ไว้ โดยมีสรุปมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันการรับสินบน ดังนี้

 

 

ก.ล.ต. เป็นองค์กรของรัฐที่สามารถทำหน้าที่กำกับและพัฒนาตลาดทุนไทยให้มีประสิทธิภาพ โปร่งใส น่าเชื่อถือ เพื่อเอื้ออำนวยต่อการเข้าถึงและจัดการทุนของประชาชนและภาคธุรกิจได้อย่างยั่งยืน และเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ เสริมสร้างประโยชน์สุขให้แก่ประชาชนและสังคมโดยรวม ได้อย่างน่าเชื่อถือดำรงไว้ซึ่งความเป็นองค์กรที่มีธรรมาภิบาล ตลอดจนมีมาตรฐานและจริยธรรมในการปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรฐานสากล สามารถเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่ผู้มีส่วนร่วมในตลาดทุน รวมทั้งผลักดันหน่วยงานต่าง ๆ ภายใต้การกำกับดูแลให้มีบรรษัทภิบาล มีมาตรฐานและจริยธรรมตลอดจนความรับผิดชอบต่อสังคมด้วยเช่นเดียวกัน

                เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ข้างต้น และเพื่อให้กรรมการ เลขาธิการและพนักงานทุกระดับ ยึดมั่นในความซื่อสัตย์สุจริต เป็นธรรม โปร่งใส ถือประโยชน์ของประชาชนและส่วนรวมเป็นที่ตั้ง ปลอดจากการคอร์รัปชันในทุกรูปแบบ คณะกรรมการ ก.ล.ต. ได้มีมติเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2565 ให้ประกาศ “นโยบาย ก.ล.ต. องค์กรปลอดคอร์รัปชัน" ไว้ โดยมีสรุปมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันการรับสินบน ดังนี้

 

มาตรการ

 1. การบริจาคเพื่อการกุศล และเงินสนับสนุน

 

 

 

(1) การเรี่ยไร การเชิญชวนบริจาคเพื่อการกุศล หรือการรับเงินสนับสนุน อาจใช้เป็นข้ออ้างหรือเส้นทางสำหรับการคอร์รัปชันได้  ดังนั้น กรรมการ เลขาธิการ และพนักงานจึงควรใช้ความระมัดระวังในการเรี่ยไร หรือเชิญชวนบริจาคจากบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของ ก.ล.ต.  

(2) การให้เงินบริจาค หรือเงินสนับสนุนที่ใช้เงินหรือทรัพย์สินของ ก.ล.ต. ต้องพิสูจน์ได้ว่า มีกิจกรรมตามโครงการนั้นจริง โดยโครงการดังกล่าวต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของ ก.ล.ต. หรือเป็นประโยชน์ต่อสังคมอย่างชัดแจ้ง  ทั้งนี้ ไม่ว่ากรณีใด ๆ การให้เงินบริจาคหรือการสนับสนุนดังกล่าว ต้องไม่มีลักษณะเป็นการให้เพื่อหวังประโยชน์ หรือเป็นประโยชน์ต่างตอบแทนส่วนบุคคลของกรรมการ เลขาธิการ พนักงาน หรือบุคคลอื่น รวมทั้งต้องได้รับอนุมัติจากเลขาธิการ หรือผู้รับมอบอำนาจจากเลขาธิการ

 

(1) การเรี่ยไร การเชิญชวนบริจาคเพื่อการกุศล หรือการรับเงินสนับสนุน อาจใช้เป็น ข้ออ้างหรือเส้นทางสำหรับการคอร์รัปชันได้ ดังนั้น กรรมการ เลขาธิการ และพนักงานจึงควรใช้ ความระมัดระวังในการเรี่ยไร หรือการเชิญชวนบริจาคจากบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงาน ของ ก.ล.ต.

(2) การให้เงินบริจาค หรือเงินสนับสนุนที่ใช้เงินหรือทรัพย์สินของ ก.ล.ต. ต้องพิสูจน์ได้ ว่า มีกิจกรรมตามโครงการนั้นจริง โดยโครงการดังกล่าวต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของ ก.ล.ต. หรือเป็นประโยชน์ต่อสังคมอย่างชัดแจ้ง ทั้งนี้ ไม่ว่ากรณีใด ๆ การให้เงินบริจาคหรือการสนับสนุน ดังกล่าวดต้องไม่มีลักษณะเป็นการให้เพื่อหวังประโยชน์ หรือเป็นประโยชน์ต่างตอบแทนส่วนบุคคล ของกรรมการ เลขาธิการ พนักงาน หรือบุคคลอื่น รวมทั้งต้องได้รับอนุมัติจากเลขาธิการ หรือผู้รับ มอบอำนาจจากเลขาธิการ

2. การเรียก การรับ การให้ของขวัญหรือประโยชน์อื่นใด ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของ ก.ล.ต.

(1) กรรมการ เลขาธิการ และพนักงานต้องไม่เรียกหรือร้องขอประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบใด ๆ อันเนื่องมาจากการปฏิบัติหน้าที่ใน ก.ล.ต.  

(2) กรรมการ เลขาธิการ และพนักงานต้องไม่รับของขวัญ หรือประโยชน์อื่นใดจากบุคคลหรือนิติบุคคลใด ๆ อันเนื่องมาจากการปฏิบัติหน้าที่ หรือการดำรงตำแหน่งหน้าที่ใน ก.ล.ต.  เว้นแต่เป็นไปตามประเพณีนิยม ทั้งนี้ โดยใช้ดุลพินิจพิจารณาตามความเหมาะสมด้วย

(3) กรรมการ เลขาธิการ และพนักงานพึงระวังในการให้ของขวัญหรือประโยชน์อื่นใด แก่เจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือบุคคลอื่นใด ที่ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของ ก.ล.ต. และไม่ว่ากรณีใด ๆ การให้ดังกล่าวต้องไม่มีลักษณะเป็นการให้สินบนหรือผลประโยชน์ตอบแทนในทางมิชอบแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือบุคคลอื่น

(4) การรับหรือการให้ของขวัญหรือประโยชน์อื่นใด จากบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของ ก.ล.ต. อันเนื่องจากความสัมพันธ์ส่วนตัวไม่อยู่ภายใต้บังคับนโยบายนี้ โดยกรรมการ เลขาธิการ และพนักงานควรพิจารณาความเหมาะสม และหลีกเลี่ยงกรณีที่อาจทำให้เกิดข้อครหาต่อ ก.ล.ต. ด้วย

ก.ล.ต. เป็นหน่วยงานที่เจ้าหน้าที่ของรัฐทุกคนไม่รับของขวัญและของกำนัลทุกชนิดจาก การปฏิบัติหน้าที่

(1) กรรมการ เลขาธิการ และพนักงานต้องไม่เรียกหรือร้องขอประโยชน์ที่มิควรได้ โดยชอบใด ๆ อันเนื่องมาจากการปฏิบัติหน้าที่ใน ก.ล.ต.

(2) กรรมการ เลขาธิการ และพนักงานต้องไม่รับของขวัญและของกำนัลทุกชนิดจาก บุคคลหรือนิติบุคคลใด ๆ อันเนื่องมาจากการปฏิบัติหน้าที่ หรือการดำรงตำแหน่งหน้าที่ใน ก.ล.ต. ที่จะส่งผลให้เกิดการทุจริตและประพฤติมิชอบทั้งในปัจจุบันและอนาคต

(3) กรรมการ เลขาธิการ และพนักงานพึงระวังในการให้ของขวัญหรือประโยชน์อื่นใดแก่ เจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือบุคคลอื่นใดที่ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของ ก.ล.ต. และ ไม่ว่ากรณีใด ๆ การให้ดังกล่าวต้องไม่มีลักษณะเป็นการให้สินบนหรือผลประโยชน์ตอบแทนในทาง มิชอบแก่เจ้าหน้าที่ ของรัฐ หรือบุคคลอื่น

(4) การรับหรือให้ของขวัญหรือประโยชน์อื่นใดจากบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงาน ของ ก.ล.ต. อันเนื่องจากความสัมพันธ์ส่วนตัวไม่อยู่ภายใต้บังคับนโยบายนี้ โดยกรรมการ เลขาธิการ และพนักงานควรพิจารณาความเหมาะสม และหลีกเลี่ยงกรณีที่อาจทำให้เกิดข้อครหาต่อ ก.ล.ต. ด้วย

3. การให้ความรู้และการสื่อสาร

กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานทุกคนจะได้รับการให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันคอร์รัปชันอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ตระหนักถึงนโยบายฉบับนี้ โดยเฉพาะรูปแบบต่าง ๆ ของการรับสินบน ความเสี่ยงจากการเข้าไปมีส่วนร่วมในการรับสินบน ตลอดจนวิธีการรายงานกรณีพบเห็นหรือสงสัยว่ามีการรับสินบนหรือคอร์รัปชัน ทั้งนี้ สามารถอ่านนโยบาย รวมทั้งข้อมูลล่าสุดที่ปรับปรุงแก้ไขได้จาก intranet ของ ก.ล.ต.โดย ก.ล.ต. จะแจ้งให้กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานทราบหากมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลที่สำคัญ นอกจากนี้ การให้ความรู้เกี่ยวกับนโยบายฉบับนี้ จะเป็นส่วนหนึ่งของการปฐมนิเทศ หรือก่อนการเข้ารับตำแหน่งใหม่

กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานทุกคนจะได้รับการอบรมเกี่ยวกับการป้องกันคอร์รัปชัน อย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ตระหนักถึงนโยบายฉบับนี้ โดยเฉพาะรูปแบบต่าง ๆ ของการรับสินบน ความเสี่ยงจากการเข้าไปมีส่วนร่วมในการรับสินบน ตลอดจนวิธีการรายงานกรณีพบเห็นหรือสงสัยว่า มีการรับสินบนหรือคอร์รัปชัน ทั้งนี้ สามารถอ่านนโยบาย รวมทั้งข้อมูลล่าสุดที่ปรับปรุงแก้ไขได้จาก intranet ของ ก.ล.ต. โดย ก.ล.ต. จะแจ้งให้กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานทราบ หากมี การเปลี่ยนแปลงข้อมูลที่สำคัญ นอกจากนี้ การอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับนโยบายฉบับนี้จะเป็น ส่วนหนึ่งของการปฐมนิเทศหรือก่อนการเข้ารับตำแหน่งใหม

4. กรณีที่มีข้อสงสัย

หากเกิดความไม่มั่นใจว่าการกระทำใด อาจเข้าลักษณะเป็นการรับสินบนหรือการคอร์รัปชัน หรือในกรณีที่มีคำถามหรือข้อสงสัย พนักงานต้องปรึกษากับผู้บังคับบัญชา หรือส่วนงานที่ออกระเบียบปฏิบัติ หรือฝ่ายทรัพยากรบุคคล

เหมือนเดิม

5. การรายงานการพบเห็นการรับสินบนและการคอร์รัปชัน

   (1) หากกรรมการ เลขาธิการ หรือพนักงานมีเหตุอันควรสงสัยหรือมีหลักฐานว่าอมีกรรมการ เลขาธิการ พนักงานหรือบุคคลซึ่งกระทำการในนาม ก.ล.ต. ได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการรับสินบน หรือการคอร์รัปชัน ให้รายงานต่อประธานคณะกรรมการตรวจสอบ หรือผู้อำนวยการฝ่ายทรัพยากรบุคคล หรือผู้บังคับบัญชาโดยตรง โดยทันที และหากยังไม่ได้รับการแก้ไข ให้รายงานผ่าน ช่องทางการแจ้งเบาะแสตามที่กำหนดในธรรมาภิบาลหรือจรรยาบรรณพนักงาน  เมื่อ ก.ล.ต. ได้รับการรายงานแล้ว จะดำเนินการอย่างจริงจัง และผู้ที่ให้ข้อมูลด้วยเจตนาสุจริตจะได้รับความคุ้มครอง โดยต้องไม่ถูกกลั่นแกล้งใด ๆ

     (2) ก.ล.ต. จัดให้มีช่องทางการแจ้งเบาะแส และอำนวยความสะดวกให้กรรมการเลขาธิการ หรือพนักงานสามารถให้ข้อมูลได้อย่างเต็มที่ตามนโยบาย whistle blowing เพื่อรักษาไว้ซึ่งความน่าเชื่อถือขององค์กร โดย ก.ล.ต. และผู้บริหารทุกคนต้องให้ความมั่นใจกับพนักงานที่ให้ข้อมูลด้วยเจตนาสุจริตว่า จะไม่ถูกลงโทษหรือกลั่นแกล้งใด ๆ  ทั้งนี้ หากผู้แจ้งเบาะแสหรือให้ข้อมูลเชื่อว่า ตนเองถูกข่มขู่ คุกคาม หรือหน่วงเหนี่ยว ให้รายงานต่อประธานคณะกรรมการตรวจสอบ หรือผู้อำนวยการฝ่ายทรัพยากรบุคคล หรือผู้บังคับบัญชาโดยตรงโดยทันที และหากยังไม่ได้รับการแก้ไขให้รายงานผ่าน ช่องทางการแจ้งเบาะแสตามที่กำหนดในธรรมาภิบาลหรือจรรยาบรรณพนักงาน

(1) หากกรรมการ เลขาธิการ หรือพนักงานมีเหตุอันควรสงสัยหรือมีหลักฐานว่า มีกรรมการ เลขาธิการ พนักงานหรือบุคคลซึ่งกระทำการในนาม ก.ล.ต. ได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการรับ สินบนหรือการคอร์รัปชัน จะต้องรายงานให้ประธานคณะกรรมการตรวสอบหรือผู้บังคับบัญชาทราบ โดยทันที หรือรายงานผ่านช่องทางการแจ้งเบาะแสตามที่กำหนดในจรรยาบรรณพนักงาน เมื่อ ก.ล.ต. ได้รับการรายงานแล้ว จะดำเนินการอย่างจริงจัง และพนักงานที่ให้ข้อมูลด้วยเจตนาสุจริตจะต้องไม่ได้ รับการกลั่นแกล้งใด ๆ

(2) ก.ล.ต. ต้องจัดให้มีช่องทางการแจ้งเบาะแส และอำนวยความสะดวกให้กรรมการ เลขาธิการ หรือพนักงานสามารถให้ข้อมูลได้อย่างเต็มที่ตามนโยบาย whistle blowing เพื่อรักษาไว้ ซึ่งความน่าเชื่อถือขององค์กร โดย ก.ล.ต. และผู้บริหารทุกคนต้องให้ความมั่นใจกับพนักงาน ที่ให้ข้อมูลด้วยเจตนาสุจริตว่าจะไม่ถูกลงโทษหรือกลั่นแกล้งใด ๆ ทั้งนี้ หากกรรมการ เลขาธิการ หรือพนักงานเชื่อว่าตนถูกข่มขู่ คุกคาม หรือหน่วงเหนี่ยว ให้รายงานต่อประธานคณะกรรมการ ตรวจสอบหรือผู้บังคับบัญชาโดยตรงหรือผู้อำนวยการฝ่ายทรัพยากรบุคคลโดยทันทีและหากยังไม่ได้ รับการแก้ไขให้รายงานผ่านช่องทางการแจ้งเบาะแสตามที่กำหนดในจรรยาบรรณพนักงาน

6. การปกป้องดูแลพนักงานที่ปฏิเสธการคอร์รัปชัน

  (1) ก.ล.ต. ให้ความมั่นใจกับพนักงานว่า จะไม่มีพนักงานคนใดต้องถูกลงโทษ ลดตำแหน่ง หรือได้รับผลกระทบใด ๆ จากการปฏิเสธการรับสินบน  นอกจากนี้ ก.ล.ต. จะปกป้องกรรมการ เลขาธิการ และพนักงานทุกคน มิให้ผู้ใดมากระทำการข่มขู่ คุกคาม หรือหน่วงเหนี่ยวผู้ที่ตั้งใจปฏิบัติตามนโยบายฉบับนี้

  (2) หากกรรมการ เลขาธิการ หรือพนักงานเชื่อว่า ตนเองถูกข่มขู่ คุกคาม หรือหน่วงเหนี่ยว อันเกิดจากการปฏิบัติตามนโยบายนี้ ให้รายงานต่อประธานคณะกรรมการตรวจสอบ หรือผู้อำนวยการฝ่ายทรัพยากรบุคคล หรือผู้บังคับบัญชาโดยตรงโดยทันที และหากยังไม่ได้รับการแก้ไขให้รายงานผ่าน ช่องทางการแจ้งเบาะแสตามที่กำหนดในธรรมาภิบาลหรือจรรยาบรรณพนักงาน

(1) ก.ล.ต.ให้ความมั่นใจกับพนักงานว่าจะไม่มีพนักงานคนใดต้องถูกลดตำแหน่ง ลงโทษ หรือได้รับผลกระทบใด ๆ จากการปฏิเสธการรับสินบน นอกจากนี้ ก.ล.ต. จะปกป้องกรรมการ เลขาธิการ และพนักงานทุกคน มิให้ผู้ใดมากระทำการข่มขู่ คุกคาม หรือหน่วงเหนี่ยวผู้ที่ตั้งใจปฏิบัติ ตามนโยบายฉบับนี้

(2) หากกรรมการ เลขาธิการ หรือพนักงานเชื่อว่าตนถูกข่มขู่ คุกคาม หรือหน่วงเหนี่ยว อันเกิดจากการปฏิบัติตามนโยบายนี้ ให้รายงานต่อประธานคณะกรรมการตรวจสอบหรือ ผู้บังคับบัญชาโดยตรงหรือผู้อำนวยการฝ่ายทรัพยากรบุคคลโดยทันที และหากยังไม่ได้รับการแก้ไขให้ รายงานผ่านช่องทางการแจ้งเบาะแสตามที่กำหนดในจรรยาบรรณพนักงาน


SEC Help Center

โทรศัพท์ 1207