Sign In
รายงานผลการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล ประจำปี 2566

​ตามที่สำนักงานได้กำหนดแผนยุทธศาสตร์องค์กรที่มุ่งสู่การเป็นองค์กรนวัตกรรม และได้กำหนดแนวทางการบริหารและพัฒนาบุคลากร ในปี 2566 เพื่อเสริมสร้างให้บุคลากรเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนองค์กร ก.ล.ต. สู่การเป็นองค์กรนวัตกรรมและเป็นองค์กรที่มีประสิทธิผล สำนักงานมีผลการดำเนินงานตามแผนบริหารและพัฒนาบุคลากร ซึ่งผ่านความเห็นชอบจากเลขาธิการ ดังนี้


แผนงานที่ 1 : ด้านการวางโครงสร้างพื้นฐานองค์กรและการบริหารอัตรากำลัง​

1. การทบทวนการจัดงานและการปรับปรุงโครงสร้างองค์กร 

    ก.ล.ต. ได้มีการทบทวนประสิทธิภาพการดำเนินงานภายใต้โครงสร้างองค์กรปัจจุบัน และเห็นว่า ควรมีการทบทวนหน้าที่ความรับผิดชอบ คำบรรยายลักษณะงาน และการจัดงานให้เหมาะสมมากขึ้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ตอบสนองต่อความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และช่วยรองรับเป้าหมายงานของ ก.ล.ต. ในอนาคต โดยคณะกรรมการ ก.ล.ต. ได้เห็นชอบการปรับปรุงโครงสร้างองค์กร โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2566 สรุปข้อมูลพนักงาน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2566 มีพนักงานทั้งหมด 780 ราย (ผู้บริหารระดับสูง 15 ราย (2%) พนักงานทั่วไป 765 ราย (98%) แบ่งตามกลุ่มงาน ดังนี้


​กลุ่มงาน
​จำนวน (คน)
สายกฎหมาย
​51
สายกำกับธุรกิจจัดการลงทุน
66​
สายกำกับธุรกิจตัวกลาง
68​
สายกำกับบัญชีและส่งเสริมความยั่งยืน
​​56
สายเทคโนโลยีดิจิทัล
​72
สายนวัตกรรมทางการเงินและเทคโนโลยีดิจิทัล
​​58
สายบริหารองค์กร
​86
สายบังคับใช้กฎหมาย 1
​58
สายบังคับใช้กฎหมาย 2
​37
สายยุทธศาสตร์และแผนงาน
​39
สายระดมทุน
​109
สายสื่อสารองค์กร
​33
อื่น ๆ
​32
​รวม
​​765


2. การบริหารอัตรากำลัง

    สำนักงานได้มีการปรับปรุงอัตรากำลัง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการงานของสำนักงานให้มีประสิทธิภาพ โดยคณะกรรมการ ก.ล.ต. ในการประชุมครั้งที่ 16/2566 เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2566 มีมติเห็นชอบการปรับปรุงโครงสร้างสายงานบังคับใช้กฎหมาย เพิ่มตำแหน่งผู้ช่วยเลขาธิการ สายบังคับใช้กฎหมาย 2 จำนวน 1 อัตรา นอกจากนี้ ในระดับผู้บริหารทีม สำนักงานยังได้พิจารณาปรับปรุงอัตรากำลัง โดยการเพิ่มหมวดบริหารจัดการ ได้แก่ 1) ฝ่ายจัดการและวิเคราะห์ข้อมูล จำนวน 1 อัตรา เพื่อรับผิดชอบงานด้าน Data Engineering and Analytics ซึ่งเดิมมีเพียง 1 สายงาน ซึ่งจะช่วยเร่งการยกระดับความพร้อมด้านข้อมูลและลดภาระผู้ประกอบธุรกิจ ตามแผนยุทธศาสตร์ดิจิทัลองค์กรปี 2566-2568 และ 2) ฝ่ายกำกับรายทางการเงินและฝ่ายกำกับการสอบบัญชี ฝ่ายงานละ 1 อัตรา เพื่อช่วยลดการกระจุกตัวของงานที่มีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างมาก
ช่วยผลักดันงาน รวมทั้งการถ่ายทอดและการสอนงาน ทั้งนี้ การปรับอัตราข้างต้นยังอยู่ภายใต้กรอบอัตรากำลัง ตามข้อบังคับสำนักงานว่าด้วยการแบ่งส่วนงานและอัตรากำลังของสำนักงาน ปี 2565
 
แผนงานที่ 2 : ด้านการพัฒนายกระดับสมรรถนะบุคลากรและการเติบโตทางสายอาชีพ

1. โครงการยกระดับขีดความสามารถของบุคลากร

    นอกจากแผนพัฒนาบุคลากรตามตำแหน่ง (SEC Training Roadmap) สำนักงานได้ปรับปรุง
แผนการพัฒนาให้สอดคล้องกับการทำงานตามแผนยุทธศาสตร์ และเตรียมพร้อมทักษะสำคัญสำหรับอนาคตรองรับภารกิจของสำนักงานที่มีความท้าทายมากขึ้น โดยตั้งเป้าหมายเพื่อ “ยกระดับความรู้ ทักษะและความสามารถของบุคลากร ก.ล.ต. ให้คิดต่อยอด เท่าทันและพร้อมปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลง รู้จริงในงาน ทำงานเชิงรุก มีความเป็นมืออาชีพ ตัดสินใจด้วยข้อมูลและขับเคลื่อนการทำงานด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม” โดยกำหนดกรอบการพัฒนา ดังนี้

(1) สมรรถนะสำหรับการทำงานในอนาคต (Future Skills)  

​​เป้าหมายที่คาดหวัง คือพนักงานที่ “คิดรอบ วิเคราะห์เป็น สื่อสารเก่ง ตอบสนองเร็ว” การพัฒนาเน้นหลักสูตรฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการในด้านการคิด เช่น หลักสูตร Critical Thinking หลักสูตร Systematic and Analytical Thinking หลักสูตร Complex Problem Solving เป็นต้น ด้านการสื่อสาร เช่น หลักสูตร Effective Communication หลักสูตร Master of One Page Summary เป็นต้น จำนวนผู้เข้าอบรม 254 คน จำนวนชั่วโมงฝึกอบรมพนักงาน 18 ชั่วโมงต่อคน รวมทั้งการพัฒนากรอบความคิดแบบเติบโต (Growth Mindset) และกรอบความคิดที่ให้ความสำคัญกับผู้อื่นเพื่อการทำงานร่วมกันและปลดล็อกศักยภาพในการทำงาน (Outward Mindset) โดยใช้รูปแบบการอบรมเชิงปฏิบัติการ เป้าหมายเป็นพนักงานระดับเจ้าหน้าที่ถึงเจ้าหน้าที่อาวุโส ประมาณ 90 คน ​

​​(2) สมรรถนะด้านนวัตกรรม ข้อมูล และดิจิทัล (Innovative Data & Digital)

การพัฒนาเน้นทักษะที่จำเป็นสำหรับผู้ปฏิบัติงานในแต่ละระดับ โดยการวางแผนการพัฒนาจะพิจารณาจากผลการประเมิน Digital Capabilities สำหรับการยกระดับสมรรถนะด้านเทคโนโลยีดิจิทัลของพนักงานในวงกว้าง เช่น หลักสูตร Genius Data Visualization หลักสูตร High Impact Storytelling เป็นต้น และหลักสูตรความรู้ระดับเชี่ยวชาญตามความจำเป็นของฝ่ายงานต่าง ๆ เช่น หลักสูตร CDIC เป็นต้น นอกจากนี้
ยังมีการจัดบรรยายพิเศษ โดยเชิญผู้บริหารจากองค์กรชั้นนำมาบรรยายแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในหัวข้อ Systematic Ways to Create Innovation Result และ Situational Adaptability in Digital Era เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านนวัตกรรมของบุคลากร ก.ล.ต. ด้วย จำนวนผู้ได้รับการอบรม 284 คน จำนวนชั่วโมงการฝึกอบรมพนักงานเฉลี่ย 14 ชั่วโมงต่อคน

(3) สมรรถนะด้านการบริหารและภาวะผู้นำ (Managerial & Leadership Skills) 

นอกจากการพัฒนาภาวะผู้นำตามตำแหน่ง ยังเน้นการพัฒนาที่เหมาะสมเป็นรายบุคคลมากขึ้น โดยในปี 2566 ผู้อำนวยการใหม่ทุกคน จะได้รับการประเมินสมรรถนะด้านผู้นำ และได้รับการโค้ชแบบกลุ่ม เพื่อนำไปวางแผนพัฒนารายบุคคล รวมถึงสำนักงานยังได้ส่งผู้บริหารเข้าร่วมหลักสูตรสร้างสัมพันธ์เพื่อประโยชน์ในการทำงานกับ Stakeholders กลุ่มต่างๆ เช่น หลักสูตรวิทยาการตลาดทุน (วตท.) หลักสูตร EDP เป็นต้น จำนวนผู้ได้รับการอบรม 228 คน จำนวนชั่วโมงการฝึกอบรมพนักงานเฉลี่ย 23 ชั่วโมงต่อคน

​(4) แนวคิดและหลักการกำกับดูแลและการพัฒนาความรู้ตาม Technical Competency  

​การพัฒนาเน้นกลุ่มพนักงานใหม่ทุกคน เพื่อปูพื้นฐานหลักการกำกับดูแล โดยเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ On Boarding ซึ่งรูปแบบการเรียนรู้มีทั้งแบบออนไลน์บนระบบจัดการการเรียนรู้ของสำนักงาน (SEC Academy) และเชิญผู้บริหารของสำนักงานเป็นวิทยากรแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ โดยในปี 2566 มีพนักงานใหม่เข้าร่วมโครงการดังกล่าวจำนวน 112 คน นอกจากนี้ ยังมีการพัฒนาความรู้ตาม Technical Competency อื่น ๆ ในรูปแบบการอบรมและบรรยายพิเศษ เช่น ความรู้ด้านกฎหมายปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง กฎหมายปกครองด้านความผิดทางละเมิดสำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐ ความรู้ด้านบัญชีและการเงินสำหรับนักกฎหมาย ความรู้เกี่ยวกับ พ.ร.บ. จัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 เป็นต้น

(5) ความรู้ด้านสินทรัพย์ดิจิทัล

สำนักงานได้จัดอบรมเพื่อปูพื้นฐานความรู้ด้านสินทรัพย์ดิจิทัลให้แก่พนักงานทุกคนใน ปี 2565 สำหรับปี 2566 ได้จัดอบรมความรู้สินทรัพย์ดิจิทัลในระดับกลาง (Intermediate) สำหรับผู้ปฏิบัติงานด้านสินทรัพย์ดิจิทัลโดยตรง และในไตรมาสที่ 4 ยังได้จัดหลักสูตร Decentralized Finance and Blockchain ในระดับก้าวหน้า (Advance) โดยผู้เชี่ยวชาญในวงการการเงิน จากสถาบัน Degree Plus ให้แก่ผู้ปฏิบัติงานด้านสินทรัพย์ดิจิทัลโดยตรงเพิ่มเติม เพื่อเป็นการสร้างความเข้าใจเพิ่มเติมในเชิงลึก จำนวนผู้ได้รับการอบรม 147 คน จำนวนชั่วโมงการฝึกอบรมพนักงานเฉลี่ย 31 ชั่วโมงต่อคน

(6) การพัฒนามุมมองที่เปิดกว้างเป็นสากล (Global Mindset)

สำนักงานคาดหวังให้พนักงานมีทัศนคติที่เปิดรับและพัฒนาปรับปรุงการทำงานบนหลักการและแนวปฏิบัติที่เป็นสากล จึงได้สนับสนุนให้พนักงานได้มีโอกาสไปพัฒนาในต่างประเทศ เพื่อนำแนวทางดังกล่าวมาประยุกต์ใช้กับการทำงานในบริบทการทำงานอย่างเหมาะสมและมีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับในระดับสากล ดังนั้น สำนักงานจึงสนับสนุนการส่งพนักงานที่มีศักยภาพไปเข้าอบรม/ดูงานในต่างประเทศ โดยในปี 2566 มีพนักงานที่มีศักยภาพ จำนวน 53 คนไปเข้ารับการพัฒนาในต่างประเทศ และปัจจุบันมีพนักงานจำนวน 3 คน เข้าร่วมโครงการแลกเปลี่ยนพนักงานระหว่างสำนักงานกับ IOSCO (International Organization of Securities Commissions) ซึ่งเป็นองค์กรที่มีหน้าที่หลักในการกำหนดมาตรฐานสากลให้แก่ตลาดทุนทั่วโลก นอกจากนี้ ในปี 2566 สำนักงานยังได้มีรูปแบบการพัฒนาโดยการเชิญวิทยากรที่มีความเชี่ยวชาญจากต่างประเทศ บรรยายให้ความรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์จริงในหัวข้อ RegTech and Suptech : Use of  Technology in Regulation
and Supervision ในรูปแบบออนไลน์ ให้แก่พนักงานในสายงานกำกับ จำนวน 40 คน สำหรับพนักงานรุ่นใหม่ที่มีศักยภาพ สำนักงานสนับสนุนการให้ทุนการศึกษาระดับปริญญาโท ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ในสาขาที่สำนักงานขาดแคลน เช่น กฎหมาย (เน้นหลักทรัพย์ดิจิทัล) IT / Digital / Data Analytics Risk Management เน้นระบบการเงินด้านตลาดทุน เป็นต้น โดยในปี 2566 มีพนักงานรับทุนการศึกษาระดับปริญญาโทในประเทศ 1 คน ต่างประเทศ 3 คน นอกจากนี้ สำนักงานยังได้ริเริ่มให้มีการให้ทุนการศึกษาเพิ่มเติมในรูปแบบทุนฝึกอบรมในต่างประเทศ ตามความสนใจของพนักงาน เพิ่มเติมจากทุนการศึกษาระดับปริญญาโท โดยจะเริ่มเปิดให้พนักงานที่สนใจสมัครขอรับทุนได้ในเดือนเมษายน 2567

​2. การส่งเสริมวัฒนธรรมการเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่องของพนักงานทุกระดับ

    สำนักงานได้จัดหา online learning platform ทั้งในประเทศและต่างประเทศ (SkillLane/ LinkedIn) เพื่อให้พนักงานใช้เป็นช่องทางการเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ทุกที่ทุกเวลา รวมทั้งจัดกิจกรรม Mini Training ซึ่งปรับให้สอดคล้องกับรูปแบบการพัฒนาในปัจจุบัน

3. การประเมินสมรรถนะและการจัดทำแผนพัฒนาตนเองรายบุคคล

    ตั้งแต่ปี 2566 สำนักงานได้กำหนดให้มีการประเมินสมรรถนะ (competency) ตามตำแหน่งงาน โดยผู้บังคับบัญชาปีละ 1 ครั้ง โดยมีเป้าหมายเพื่อการพัฒนา และกำหนดให้พนักงานและผู้บังคับบัญชาพูดคุยกันเพื่อจัดทำแผนพัฒนาตนเองรายบุคคล (IDP) ทำให้ได้เป้าหมายการพัฒนาที่ตรงจุดมากขึ้น รวมทั้งมีการจัดชุดหลักสูตรการพัฒนาตามกรอบสมรรถนะ (competency) เพื่ออำนวยความสะดวกและช่วยให้พนักงานสามารถเข้ารับการพัฒนาได้ตรงกับความต้องการมากขึ้น นอกจากนี้ ในปี 2566 ยังเป็นปีที่เริ่มกำหนดให้พนักงานต้องมีจำนวนชั่วโมงฝึกอบรมมาตรฐานขั้นต่ำ อย่างน้อย 40 ชั่วโมงต่อปี โดยให้เป็นส่วนหนึ่งของการประเมินในเรื่องการปฏิบัติตนตามค่านิยมองค์กร (รู้จริง) โดยพนักงานสามารถเก็บชั่วโมงการอบรมได้ทั้งหลักสูตรฝึกอบรมภายในสำนักงาน หลักสูตรที่สำนักงานส่งพนักงานไปอบรมกับหน่วยงานภายนอก รวมทั้งการอบรมออนไลน์บน online learning platform

​4. ความก้าวหน้าในสายอาชีพของบุคลากร (Career Development Plan)

    สำนักงานเปิดให้พนักงานสามารถขอรับคำปรึกษาเรื่องการวางเป้าหมายทางสายอาชีพ
และการพัฒนาตนเองเพื่อไปสู่เป้าหมายสายอาชีพที่วางไว้ (Career Clinic)  โดยในปี 2566 มีพนักงานหมุนเวียนงานโดยสมัครใจคิดเป็น 5% ของจำนวนพนักงานทั้งหมด และได้รับการเลื่อนระดับ 95 คน เลื่อนตำแหน่งเป็น ผู้ช่วยผู้อำนวยการ รองผู้อำนวยการ ผู้อำนวยการและผู้บริหารระดับสูง 49 คน รวมการเลื่อนระดับและตำแหน่งทั้งหมด 144 คน คิดเป็น 18% ของจำนวนพนักงานทั้งหมด


แผนงานที่ 3 : แผนงานด้านการจัดการความรู้

สำนักงานเห็นความสำคัญของการจัดเก็บองค์ความรู้สำคัญอย่างเป็นระบบ เพื่อส่งต่อองค์ความรู้และประสบการณ์ในการทำงานให้แก่พนักงานรุ่นใหม่ โดยในปี 2566 มีผลการดำเนินการ ดังนี้

1. การจัดหาระบบการจัดการเรียนรู้ภายในองค์กร (Learning Management System ทดแทนระบบเดิม เพื่อเป็นศูนย์รวมองค์ความรู้หลักและการบริหารจัดการเนื้อหาความรู้ในองค์กร และสามารถสร้างกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อให้การเรียนรู้ของพนักงานเป็นเรื่องสนุกมากขึ้น โดยเป็นระบบที่มีความทันสมัย ผู้เรียนสามารถเข้าถึงและใช้งานได้ง่าย เรียนรู้ได้ทุกที่ทุกเวลา โดยใช้ชื่อระบบการเรียนรู้นี้ว่า “SEC Academy” เปิดใช้งานเป็นทางการเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2566

2. การจัดเก็บองค์ความรู้ผู้บริหารเกษียณอายุ ได้แก่ ผู้อำนวยการที่เกษียณอายุในสายงานบังคับใช้กฎหมาย และฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยใช้การสัมภาษณ์ เพื่อถอดองค์ความรู้จากประสบการณ์การทำงาน และได้จัดทำเป็นรูปแบบสื่อวิดิทัศน์ เผยแพร่ในระบบการจัดการเรียนรู้ภายในองค์กร “SEC Academy” เพื่อประโยชน์ในการเรียนรู้ของพนักงานรุ่นใหม่         

3. กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้  
    น้นแลกเปลี่ยนประสบการณ์/องค์ความรู้ใหม่ ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการทำงาน และการพัฒนาตนเองของพนักงาน โดยในปี 2566 ได้จัดกิจกรรมในรูปแบบดังกล่าว รวม 23 ครั้ง 


แผนงานที่ 4 : แผนงานด้านการบริหารผลงานและการบริหารค่าตอบแทน

1. การปรับปรุงการประเมินผลการปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับเป้าหมายองค์กร
    ในปี 2566 สำนักงานได้ปรับปรุงปัจจัยการประเมินผลการปฏิบัติงาน ให้ครอบคลุมการประเมินเรื่องการบรรลุเป้าหมายด้านนวัตกรรมตามแผนยุทธศาสตร์องค์กร การส่งเสริมการเรียนรู้พัฒนา และการเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมของพนักงานตามประมวลจริยธรรมพนักงาน ตามที่สำนักงานได้เข้าร่วมรับการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment : ITA)

ก) ระดับบริหาร

  • ​​ปัจจัยด้านบริหารจัดการ เพิ่มเติมการประเมินเรื่องการส่งเสริมให้เกิดนวัตกรรม การกำหนดเป้าหมาย ผลักดัน ให้เกิดผลด้านนวัตกรรมอย่างเป็นรูปธรรมหรือทำให้เกิดการปรับปรุงกระบวนการทำงานของทีมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผล

  • ปัจจัยด้านความเป็นผู้นำของผู้บริหาร เพิ่มเติมการประเมินเรื่องการสร้างแรงบันดาลใจ ให้การสนับสนุนทีมงานในการสร้างนวัตกรรม และการเป็นแบบอย่างด้านนวัตกรรม

ข) ระดับพนักงาน

  • ​​​​​​​​​​​​​​​ปัจจัยด้านการบริหารจัดการงาน เพิ่มเติมการประเมินเรื่องสามารถดำเนินงานบรรลุตามเป้าหมายด้านนวัตกรรม การปรับปรุงกระบวนการทำงาน  โดยใช้แนวคิดเชิงนวัตกรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ประสิทธิผลอย่างเป็นรูปธรรม

​ค) พนักงานทุกคน

  • ​​​​​​​​กำหนดจำนวนชั่วโมงการฝึกอบรมมาตรฐาน ที่พนักงานต้องเข้ารับการอบรมอย่างน้อย 40 ชั่วโมงต่อปี

  • ​​​​​​กำหนดให้มีการประเมินความเข้าใจและการยึดมั่นในประมวลจริยธรรมพนักงานและจรรยาบรรณของพนักงาน โดยพนักงานต้องไม่มีพฤติกรรมที่ผิดจริยธรรมและจรรยาบรรณในการทำงาน และต้องเข้ารับการอบรม และรับทราบจรรยาบรรณในการทำงานเป็นประจำทุกปี

ทั้งนี้ ได้มีการจัดทำคู่มือการบริหารผลการปฏิบัติงาน และสื่อสารพนักงานผ่านการประชุมออนไลน์ด้วย เพื่อสร้างความเข้าใจและความโปร่งใสในการประเมินผลงานของสำนักงาน

2. การทบทวนโครงสร้างเงินเดือนให้เหมาะสม เป็นธรรม และแข่งขันได้

    สำนักงานได้ว่าจ้างผู้เชี่ยวชาญมาศึกษาทบทวนโครงสร้างค่าตอบแทนเปรียบเทียบกับอุตสาหกรรมทั้งหมด (All Industries) เพื่อนำมาพิจารณาปรับปรุงโครงสร้างเงินเดือนและปรับปรุงการจ่ายค่าตอบแทนให้เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจสังคม แนวโน้ม ความต้องการของตลาดแรงงานในยุคปัจจุบันและเพื่อให้มั่นใจว่า การจ่ายค่าตอบแทนอยู่ในระดับที่เทียบเคียงและสามารถแข่งขันได้กับหน่วยงานประเภทเดียวกัน ทั้งนี้ ความแตกต่างและความหลากหลายของพนักงาน อาทิ เพศ อายุ เชื้อชาติ ศาสนา เป็นต้น ไม่มีผลต่อการกำหนดค่าตอบแทน สวัสดิการ และการเลื่อนระดับของพนักงาน โดยโครงสร้างค่าตอบแทนใหม่มีผลในวันที่ 1 มกราคม 2567

3. การปรับปรุงสวัสดิการให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจปัจจุบัน
    ในการกำหนดสวัสดิการแก่พนักงาน  ก.ล.ต. ได้คำนึงถึงข้อเท็จจริงของสภาพเศรษฐกิจในปี 2566 จึงได้ศึกษาการปรับปรุงสวัสดิการในบางรายการ เช่น วงเงินตรวจสุขภาพ เพื่อเป็นการเพิ่มการดูแลสุขภาพให้แก่พนักงานในเชิงป้องกันที่จะลดการป่วยที่รุนแรง รวมถึงให้มีความทัดเทียมหรือดีกว่าองค์การที่ดำเนินกิจการคล้ายคลึงกัน โดยได้ดำเนินการแล้วเสร็จ และมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2566 รวมถึงได้ปรับเกณฑ์ค่าตอบแทนการทำงานล่วงเวลา มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2566 และได้ปรับปรุงหลักเกณฑ์การช่วยเหลือผู้ปฏิบัติงาน เพื่อสำนักงานในการต่อสู้คดีและเพิ่มเติมเงินช่วยเหลือที่จ่ายให้แก่พยาน ในกรณี ก.ล.ต. ขอความร่วมมือไปพบหรือให้การหรือให้ปากคำต่อพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการ หรือศาลมีหมายเรียกให้ไปเบิกความเป็นพยานในคดีที่ ก.ล.ต. กล่าวโทษ หรือเป็นคู่ความหรือคดีที่เอกชนฟ้องกันเอง โดยมีมูลเหตุหรือหลักฐานบางส่วนของเอกชนที่เกี่ยวพันกับผลคำตัดสินหรือการพิจารณาของ ก.ล.ต. อันเป็นการอำนวยความสะดวกต่อกระบวนการยุติธรรม เสริมสร้างประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฎหมาย และเป็นประโยชน์ในการต่อสู้ดำเนินคดี

แผนงานที่ 5 : แผนงานด้านการเสริมสร้างความผูกพันของพนักงานและการดูแลให้พนักงานมีสุขภาวะที่ดีในการทำงาน

สำนักงานมีนโยบายในการส่งเสริมและสนับสนุนให้พนักงานมีความสุขในการทำงาน มีสุขภาวะที่ดีและสอดคล้องกับวิถีการดำรงชีวิต มีความผูกพันระหว่างบุคลากรกับองค์กร ดังนี้

1. การจัดกิจกรรมและบริการต่าง ๆ ของสำนักงานเพื่อเสริมสร้างความผูกพันและส่งเสริมสุขภาวะที่ดี ได้แก่

​- จัดให้มีบริการให้คำปรึกษาด้านการบริหารจัดการความเครียดและการดูแลสุขภาพใจแก่พนักงาน (ดำเนินการต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2564) โดยการจัดจ้างหน่วยงานภายนอกที่มีมาตรฐานมาให้บริการปรึกษาด้านสุขภาพใจ (Counselling & Mental Health Service) แก่พนักงานโดยวิธีการปรึกษาทางออนไลน์ หรือทางโทรศัพท์ เพื่อเป็นการดูแลสุขภาวะด้านจิตใจแก่พนักงาน ช่วยคลี่คลายปัญหาความเครียด สภาวะอารมณ์ ความกังวล สุขภาพจิต และเพิ่มมุมมองและแนวคิดในการทำงาน

- การจัดกิจกรรมพนักงานสัมพันธ์ ในรูปแบบต่าง ๆ ได้แก่ กิจกรรมสันทนาการเพื่อผ่อนคลายความเครียดจากการทำงาน และปลูกฝังจิตสำนึกในการบำเพ็ญประโยชน์เพื่อส่วนรวม การช่วยเหลือสังคมและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม กิจกรรมพนักงานสัมพันธ์ กิจกรรมสืบสานประเพณีและวัฒนธรรมอันดี กิจกรรมชมรมกีฬา และกิจกรรมแข่งขันออกกำลังกาย เป็นต้น

- การจัดพื้นที่สำหรับให้บริการด้านการออกกำลังกาย (Fun Floor) ที่มีอุปกรณ์และเครื่องออกกำลังกายที่หลากหลายและมีผู้เชี่ยวชาญในคำแนะนำ รวมทั้งมีกิจกรรมออกกำลังกายที่จัดเป็นประจำทุกสัปดาห์ ได้แก่ โยคะ และแอโรบิค

2. การส่งเสริมวัฒนธรรมองค์กรและค่านิยมองค์กร

    บุคลากร ก.ล.ต. มีความผูกพันและยึดมั่นร่วมกันในค่านิยมองค์กร (เปิดใจ รู้จริง ร่วมมือ ซื่อตรง) โดยสำนักงานได้ปลูกฝังค่านิยมดังกล่าวผ่านผู้บริหารที่เป็นแบบอย่าง การสื่อสารแนวทางการทำงาน
จากผู้บริหาร และกิจกรรมเสริมสร้างค่านิยมอย่างสม่ำเสมอ โดยในปี 2566 ได้ดำเนินการผลักดันให้เกิดผลที่เป็นรูปธรรมผ่านเครื่องมือการบริหารผลงาน โดยกำหนดให้มีการประเมินการแสดงพฤติกรรมเชิงประจักษ์ที่สะท้อนค่านิยมด้วย สำหรับค่านิยม “ซื่อตรง” ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญและเป็นหัวใจในการทำงานในองค์กรแห่งนี้ เลขาธิการ ก.ล.ต. ได้มีการสื่อสารกับพนักงานใหม่เกี่ยวกับเรื่องความซื่อตรงนับแต่วันแรกที่เริ่มทำงาน นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรมส่งเสริมความซื่อตรงและจริยธรรมด้านต่าง ๆ รวมทั้งให้พนักงานทุกคนลงนามรับรองจรรยาบรรณในการปฏิบัติงานเป็นประจำอย่างต่อเนื่องทุกปี ​​


ตารางสรุปแผนงาน/โครงการ งบประมาณ และค่าใช้จ่ายด้านการบริหารและพัฒนาบุคลากร ประจำปี 2566


​​ลำดับที่
โครงการ/กิจกรรม
(*ตามแผนยุทธศาสตร์องค์กรนวัตกรรม)​
​งบประมาณ
​ผลการเบิกจ่าย
​ระยะเวลาดำเนินการ
​ผลดำเนินการ
แผนงานที่ 1 : ด้านการวางโครงสร้างพื้นฐานองค์กรและการบริหารอัตรากำลัง
​1
​การทบทวนการจัดงานและการปรับปรุงโครงสร้างองค์กร
​ไม่ใช้งบประมาณ
ไม่ใช้งบประมาณ
ต.ค.-ธ.ค. 66
เสร็จตามแผนในเดือนธันวาคม 2566
​2
การบริหารอัตรากำลัง
ไม่​ใช้งบประมาณ
ไม่ใช้งบประมาณ
ต.ค.-ธ.ค. 66
เสร็จตามแผนในเดือนธันวาคม 2566
แผนงานที่ 2 : ด้านการพัฒนายกระดับสมรรถนะบุคลากรและการเติบโตทางสายอาชีพ
(มีการถัวเฉลี่ยค่าใช้จ่ายแต่ละโครงการภายใต้งบประมาณแผนงานพัฒนายกระดับสมรรถนะบุคลากร)
​1
​โครงการยกระดับขีดความสามารถของบุคลากร* ประกอบด้วยสมรรถนะ 5 ด้าน ได้แก่ ด้านการทำงานในอนาคต ด้านนวัตกรรม ข้อมูล และดิจิทัล ด้านการบริหารและภาวะผู้นำ แนวคิด ด้านหลักการกำกับดูแลด้าน Technical Knowledge ด้านสินทรัพย์ดิจิทัล ด้านการพัฒนามุมมองที่เปิดกว้างเป็นสากล (การพัฒนาในต่างประเทศและโครงการแลกเปลี่ยนพนักงานกับสถาบันต่างประเทศ)
​43,235,404
​37,375,208
​ม.ค. - ธ.ค. 66
​เสร็จตามแผน 100%
​2
การส่งเสริมวัฒนธรรมการเรียนรู้ด้วยตนเองของพนักงาน ผ่าน online learning platform รวมทั้งกิจกรรม Mini Training 
3,750,000
​4,077,780
ม.ค. - ธ.ค. 66
เสร็จตามแผน 100%
​3
ทุนการศึกษาระดับปริญญาโท สำหรับพนักงาน ศึกษา ในประเทศจำนวน 1 ทุน และศึกษาในต่างประเทศ จำนวน 3 ทุน
​13,450,000
​9,603,590
ม.ค. - ธ.ค. 66
เสร็จตามแผน 100%
​4
การประเมินสมรรถนะ (Competency) ของบุคลากรรายบุคคล และการจัดทำแผนพัฒนาตนเองรายบุคคล 
ไม่ใช้งบประมาณ
ไม่ใช้งบประมาณ
ก.พ. - มี.ค. 66
เสร็จตามแผน 100%
​5
ความก้าวหน้าในสายอาชีพของบุคลากร (Career Development Plan)
ม่ใช้งบประมาณ
ม่ใช้งบประมาณ
ม.ค. - ธ.ค. 66
เสร็จตามแผน 100%​
​แผนงานที่ 3 : แผนงานด้านการจัดการความรู้ ​ ​
​1

การจัดหาระบบการจัดการเรียนรู้ภายในองค์กร(LMS : SEC Academy) และ การจัดเก็บองค์ความรู้ ผู้บริหารระดับผู้อำนวยการที่เกษียณอายุในสายบังคับใช้กฎหมาย และฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ ลงในระบบการเรียนรู้ขององค์กร
​1,000,000
721,715​ม.ค. - ธ.ค. 66
เสร็จตามแผน 100%
แผนงานที่ 4 : แผนงานด้านการบริหารผลงานและการบริหารค่าตอบแทน​
​1

การปรับปรุงการประเมินผลงาน
ไม่ใช้งบประมาณ
ไม่ใช้งบประมาณ
​ม.ค. – ก.พ. 66
เสร็จตามแผน 100%
​2

การทบทวนโครงสร้างเงินเดือนให้เหมาะสม เป็นธรรม และแข่งขันได้ รวมทั้งการปรับปรุงสวัสดิการให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ
​2,634,500 
2,000,000 ​27 ต.ค. 65
- 3 ก.พ. 66

เสร็จตามแผน 100%
แผนงานที่ 5 : แผนงานด้านการเสริมสร้างความผูกพันของพนักงานและการดูแลให้พนักงานมีสุขภาวะที่ดีในการทำงาน​
​1
จัดให้มีบริการให้คำปรึกษาด้านการบริหารจัดการความเครียดและการดูแลสุขภาพใจแก่พนักงาน
​1,000,000
960,000
ม.ค. - ธ.ค. 66
เสร็จตามแผน 100%
​2

กิจกรรมส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างพนักงาน และกิจกรรมส่งเสริมวัฒนธรรมองค์กรประกอบด้วยกิจกรรมสืบสานดำรงไว้ซึ่งสถาบันหลักของชาติและเทิดพระเกียรติสถาบันพระมหากษัตริย์  กิจกรรมสืบสานประเพณีและวัฒนธรรมอันดี  กิจกรรมส่งเสริมการบำเพ็ญประโยชน์เพื่อส่วนรวม ช่วยเหลือชุมชน สังคมหรืออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม  กิจกรรมสัมมนาพนักงานประจำปี กิจกรรมชมรมกีฬา ชมรมอาสาพัฒนาชุมชนและสิ่งแวดล้อม และชมรมสันทนาการต่างๆ กิจกรรมส่งเสริม Well Being ดูแลกายและใจ 
​4,815,280
​4,111,686
ม.ค. - ธ.ค. 66
​เสร็จตามแผน 100%
​3
กิจกรรมส่งเสริมวัฒนธรรมองค์กรและค่านิยม “เปิดใจ รู้จริง ร่วมมือ ซื่อตรง”
588,070
486,137
.ค. - ธ.ค. 66
เสร็จตามแผน 100%


ปัญหา / อุปสรรค :
-ไม่มี-
ข้อเสนอแนะ :
-ไม่มี-




​ 

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม