Sign In
กฎเกณฑ์

​​​​​​​การบังคับใช้กฎหมาย

 

ก.ล.ต. เป็นองค์กรที่มีภารกิจหลักในการกำกับและพัฒนาตลาดทุนของประเทศไทย ให้มีประสิทธิภาพ ยุติธรรม โปร่งใส และน่าเชื่อถือ รวมถึงการกำกับดูแลให้มีการปฏิบัติตามและดำเนินการบังคับใช้กฎหมายกับบุคคลที่กระทำผิดกฎหมาย ​ซึ่งเป็นการส่งเสริมให้ตลาดทุนมีการพัฒนาและเติบโตอย่างยั่งยืน และส่งผลในเชิงบวกต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศโดยรวม 

กฎหมายที่อยู่ในความรับผิดชอบของสำนักงาน ก.ล.ต. ในปัจจุบันมีทั้งสิ้น 6 ฉบับ ประกอบด้วย

  1. พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ("พ.ร.บ. หลักทรัพย์ฯ") 

  2. พระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 ("พ.ร.บ. สัญญาซื้อขายล่วงหน้าฯ")

  3. พระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550 ("พ.ร.บ. ทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุนฯ")

  4. พระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530 ("พ.ร.บ. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพฯ")

  5. พระราชกำหนดนิติบุคคลเฉพาะกิจเพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ พ.ศ. 2540 ("พ.ร.ก. นิติบุคคลเฉพาะกิจฯ")

  6. พระราชกำหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 (“พ.ร.ก. การประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลฯ")

ในการกำกับดูแลให้มีการปฏิบัติตามและดำเนินการบังคับใช้กฎหมายกับผู้กระทำความผิด ก.ล.ต.    มีความรับผิดชอบในการตรวจสอบการปฏิบัติตามกฎหมายทั้ง 6 ฉบับดังกล่าว และดำเนินการให้มีการลงโทษผู้กระทำความผิด (ไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล) ในกรณีที่มีการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว รวมทั้งประกาศที่ออกโดยอาศัยอำนาจจากกฎหมายดังกล่าว

เมื่อมีเหตุสงสัยว่าอาจมีการกระทำความผิดตามกฎหมายที่ ก.ล.ต. กำกับดูแล ก.ล.ต. จะรวบรวมข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานให้เพียงพอต่อการพิจารณา ซึ่งโดยปกติจะเปิดโอกาสให้ผู้ต้องสงสัยได้ชี้แจงหรือโต้แย้งและแสดงพยานหลักฐานของตน ก่อนที่จะพิจารณาดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง  ยกเว้นกรณีที่มีเหตุจำเป็นหรือเหตุสมควร เช่น หาก ก.ล.ต. ไม่รีบดำเนินการ อาจก่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงหรือกระทบต่อประโยชน์สาธารณะ หรือกรณีที่การให้ผู้กระทำความผิดชี้แจงไม่สามารถกระทำได้โดยสภาพ เป็นต้น

เมื่อ ก.ล.ต. พิจารณาแล้วเห็นว่า พยานหลักฐานที่รวบรวมได้มีน้ำหนักเพียงพอที่จะบังคับใช้กฎหมายกับผู้กระทำความผิด โดยมีช่องทางในการบังคับใช้กฎหมายดังนี้

(1) การดำเนินการทางปกครอง (Administrative Actions)

(2) การดำเนินการทางอาญา (Criminal Actions)

(3) การดำเนินมาตรการลงโทษทางแพ่ง (Civil Sanctions) 

ขั้นตอนการตรวจสอบและช่องทางในการบังคับใช้กฎหมายของ ก.ล.ต.

 

สรุปหลักเกณฑ์



 

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

​ฝ่ายคดี

โทรศัพท์ 0-2263-6144​