Sign In
ประกาศความเป็นส่วนตัว (Privacy Notice)

​​​​​​​​​​​​​​​ประกาศความเป็นส่วนตัวของสำนักงาน ก.ล.ต. นี้จะอธิบายถึงเหตุผลและวิธีการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของเจ้าของข้อมูล ซึ่งจะช่วยให้เจ้าของข้อมูลเข้าใจว่าสำนักงาน ก.ล.ต. นั้นได้มีการประมวลผลข้อมูลของท่านอย่างไร รวมถึงสิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลที่พึงจะได้รับและวิธีการติดต่อกับสำนักงาน ก.ล.ต. เมื่อมีประเด็นปัญหา หรือข้อสงสัยเกี่ยวกับการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของเจ้าของข้อมูล


อภิธานศัพท์ที่ใช้ในประกาศความเป็นส่วนตัว

คำศัพ​​ท์

ควา​มหมาย

พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562

สำนักงาน ก.ล.ต.

สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์

ข้อมูลส่วนบุคคล

ข้อมูลที่เกี่ยวกับบุคคลซึ่งทำให้สามารถระบุตัวบุคคลนั้นได้ ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม แต่ไม่รวมถึงข้อมูลของผู้ถึงแก่กรรมโดยเฉพาะ (ตามคำนิยามของ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลฯ)

ข้อมูลอ่อนไหว

ข้อมูลส่วนบุคคลที่เป็นเรื่องส่วนตัวของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล และมีความละเอียดอ่อนและมีความสุ่มเสี่ยงต่อการถูกใช้ในการเลือกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรม ซึ่งเป็นข้อมูลตามที่ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลฯ กำหนดตามมาตรา 26 และ/หรือข้อมูลอื่นใดซึ่งอาจทำให้เกิดผลกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล

การทำข้อมูลนิรนาม
(Data Anonymization)

กระบวนการแปลงข้อมูลส่วนบุคคลให้เป็นข้อมูล
ที่ไม่สามารถใช้เพื่อระบุตัวตนของบุคคลใดบุคคลหนึ่งได้

ข้อมูลนิรนาม
(Anonymized Data)

ข้อมูลที่ไม่สามารถใช้เพื่อระบุตัวตนของบุคคลใดบุคคลหนึ่งได้


สำนักงาน ก.ล.ต. มีการแบ่งการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลตามการดำเนินภารกิจของสำนักงาน ก.ล.ต. ซึ่งสามารถศึกษารายละเอียดได้ตาม link ด้านล่างนี้

PDPA


ข้อมูลส่วนบุคคลที่สำนักงาน ก.ล.ต. รวบรวม

ข้อมูลส่วนบุคคลที่สำนักงาน ก.ล.ต. รวบรวมนั้นมีทั้งข้อมูลทางตรงและข้อมูลทางอ้อม เช่น เลขที่บัตรประชาชน/เลขที่หนังสือเดินทาง คำนำหน้า ชื่อ-นามสกุล (ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ) วันเดือนปีเกิด สัญชาติ เบอร์โทรศัพท์มือถือ Email ที่อยู่ตามบัตรประชาชน เพศ เป็นต้น โดยสำนักงานจะเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลใดขึ้นอยู่กับความจำเป็นในการดำเนินภารกิจในแต่ละระบบงาน รายละเอียดของข้อมูลส่วนบุคคลที่สำนักงาน ก.ล.ต. รวบรวมสามารถศึกษารายละเอียดได้ตาม link นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลด้านบน


แหล่งที่มาของข้อมูลส่วนบุคคล

  1. สำนักงานได้รับข้อมูลส่วนบุคคลจากท่านโดยตรง

  2. สำนักงานได้รับข้อมูลส่วนบุคคลของท่านจากการที่ท่านได้มอบหมายให้บริษัทหรือตัวแทนดำเนินการผ่านระบบ

  3. สำนักงานได้รับข้อมูลส่วนบุคคลของท่านจากความร่วมมือด้านข้อมูลจากหน่วยงานภาครัฐ

  4. สำนักงานได้รับข้อมูลส่วนบุคคลของท่านจากแหล่งข้อมูลอื่น เช่น ค้นหาผ่านเว็บไซต์ต่าง ๆ


วัตถุประสงค์ในการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล

สำนักงาน ก.ล.ต. จัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของท่านเพื่อใช้ในการ

  1. อนุมัติจัดตั้ง จัดการกองทุน และอนุญาตออกและเสนอขายหลักทรัพย์ที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงาน ก.ล.ต.

  2. ให้ความเห็นชอบบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงาน ก.ล.ต.

  3. วิเคราะห์ ตรวจสอบ ดูภาพรวมการลงทุนรวมถึงศึกษาพฤติกรรมการลงทุน อีกทั้งพิจารณาการปฏิบัติงาน การปฏิบัติตามกฎหมาย ข้อบังคับ และข้อกำหนดด้านกฎระเบียบ สืบสวน และสอบสวน รวมถึงการดำเนินการใด ๆ ตามภารกิจของสำนักงานเพื่อให้เป็นไปตามกฎหมาย

  4. พิจารณาเรื่องร้องเรียน พิจารณาความผิด ติดตามความเสี่ยง พิจารณาการกระทำความผิดด้านการออกและเสนอขายหลักทรัพย์ รวมถึงการกระทำความผิดของผู้ประกอบวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง

  5. เผยแพร่ จัดทำงานวิจัย รับฟังความคิดเห็น แลกเปลี่ยนความรู้และส่งเสริมความรู้

  6. บริหารจัดการภายในสำนักงานและอื่น ๆ ตามที่สำนักงานกำหนด

สามารถศึกษารายละเอียดวัตถุประสงค์ในการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลที่สำนักงาน ก.ล.ต. รวบรวมได้ตาม link นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลด้านบน


การเก็บรักษาและระยะเวลาในการเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคล

การเก็บรักษาข้อ​มูลส่วนบุคคล

สำนักงาน ก.ล.ต. จัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลตามลักษณะของข้อมูลที่ได้รับ โดยข้อมูลส่วนบุคคลจากระบบงานคอมพิวเตอร์ของสำนักงานจะถูกจัดเก็บในฐานข้อมูลกลางของสำนักงานที่มีการดูแลและรักษาความปลอดภัยของข้อมูล (Security) มีการกำหนดสิทธิในการเข้าถึงข้อมูล (Access Control) รวมถึงมีการควบคุมสิทธิการเข้าห้องศูนย์คอมพิวเตอร์ กรณีข้อมูลที่จัดเก็บบนคลาวด์ (Cloud) สำนักงาน ก.ล.ต. ใช้บริการผู้ให้บริการระบบคลาวด์ (Cloud Provider) ที่ได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับ อีกทั้งสำนักงาน ก.ล.ต. มีการตรวจสอบการบริการของผู้ให้บริการระบบคลาวด์อย่างสม่ำเสมอ

สำหรับเอกสารหลักฐาน (Hard Copy) และสิ่งพิมพ์ (Printed Material) สำนักงานทำการสแกน (scan) และจัดเก็บเข้าระบบบริหารจัดการเอกสารและข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (Enterprise Content Management: ECM) ซึ่งเป็นระบบฐานข้อมูลเอกสารกลางของสำนักงาน ก.ล.ต. ที่มีการดูแลและรักษาความปลอดภัยของข้อมูล (Security) มีการกำหนดสิทธิในการใช้ระบบ รวมถึงมีการกำหนดสิทธิในการเข้าถึงข้อมูล (Access Control) ในส่วนของเอกสารที่อยู่ระหว่างดำเนินการจะถูกจัดเก็บในสถานที่ปลอดภัยในสำนักงาน เช่น ตู้เก็บส่วนกลางที่มีกุญแจล็อค มีการกำหนดสิทธิในการเข้าถึงเอกสาร และมีทะเบียนจัดเก็บผู้ใช้งานเอกสาร เป็นต้น และเอกสารที่ดำเนินการแล้วเสร็จจะถูกจัดเก็บที่โกดัง (Warehouse) ที่มีการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล และระมัดระวังการเข้าถึงโดยผู้ไม่มีสิทธิ



ระยะเวลาก​​ารเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคล

ระยะเวลาการเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคลขึ้นอยู่กับการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลตามการดำเนินภารกิจของสำนักงาน ก.ล.ต. ได้แก่ ข้อมูลส่วนบุคคลที่บ่งชี้ตัวตนทางตรง เช่นเลขที่บัตรประชาชน ชื่อ-นามสกุล ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ เป็นต้นและข้อมูลส่วนบุคคลที่บ่งชี้ตัวตนทางอ้อม เช่นประวัติการศึกษา การอบรม เป็นต้น สำนักงาน ก.ล.ต. จะจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของท่านเป็นระยะเวลาเท่าที่จำเป็นตามวัตถุประสงค์ที่เก็บรวบรวมตามกฎหมาย ในกรณีการขอความยินยอม เช่น การจัดงานสัมมนา สำนักงานจะจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของท่านเป็นระยะเวลา 2 ปี  นับแต่วันที่ได้เข้าร่วมสัมมนา

เมื่อพ้นระยะเวลาจัดเก็บ หรือสำนักงานไม่มีสิทธิหรือไม่สามารถอ้างฐานในการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของท่านแล้ว สำนักงาน ก.ล.ต. จะดำเนินการทำลายข้อมูลส่วนบุคคล หรือทำให้เป็นข้อมูลนิรนาม ซึ่งจะส่งผลให้ไม่สามารถระบุตัวบุคคลนั้นตามวิธีการที่สำนักงานกำหนด และจะดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 30 วันนับแต่วันสิ้นสุดระยะเวลาดังกล่าว

รายละเอียดของระยะเวลาการเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคล การทำลายข้อมูลส่วนบุคคล และการทำข้อมูลนิรนามสามารถศึกษารายละเอียดได้ตาม link นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลด้านบน





สิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล

เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมีสิทธิตาม พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 โดยสิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมีดังนี้

  1. สิทธิในการเพิกถอนความยินยอม (right to withdraw consent) ท่านมีสิทธิในการเพิกถอนความยินยอมในการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลที่ท่านได้ให้ความยินยอมกับสำนักงานก.ล.ต.ได้ ตลอดระยะเวลาที่ข้อมูลส่วนบุคคลของท่านอยู่กับสำนักงาน ก.ล.ต.

  2. สิทธิในการได้รับแจ้งข้อมูลส่วนบุคคล (right to be informed) ท่านมีสิทธิในการได้รับแจ้งถึงข้อมูลส่วนบุคคลที่สำนักงาน ก.ล.ต. จะทำการประมวลผลก่อนการเก็บรวบรวมหรือในขณะเก็บรวบรวม

  3. สิทธิในการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล (right of access) ท่านมีสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลของท่านและขอให้สำนักงาน ก.ล.ต. จัดทำสำเนาข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าวให้แก่ท่าน รวมถึงขอให้สำนักงาน ก.ล.ต. เปิดเผยการได้มาซึ่งข้อมูลส่วนบุคคลของท่านได้

  4. สิทธิในการแก้ไขข้อมูลส่วนบุคคลให้ถูกต้อง (right to rectification) ท่านมีสิทธิในการขอให้สำนักงาน ก.ล.ต. แก้ไขข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง หรือ เพิ่มเติมข้อมูลที่ไม่สมบูรณ์

  5. สิทธิในการลบข้อมูลส่วนบุคคล (right to erasure) ท่านมีสิทธิในการขอให้สำนักงาน ก.ล.ต. ทำการลบข้อมูลของท่านด้วยเหตุบางประการได้

  6. สิทธิในการห้ามมิให้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล (right to restriction of processing) ท่านมีสิทธิในการห้ามมิให้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของท่านด้วยเหตุบางประการได้

  7. สิทธิในการให้โอนย้ายข้อมูลส่วนบุคคล (right to data portability) ท่านมีสิทธิในการโอนย้ายข้อมูลส่วนบุคคลของท่านที่ท่านให้ไว้กับสำนักงาน ก.ล.ต. ไปยังผู้ควบคุมข้อมูลรายอื่น หรือ ตัวท่านเองด้วยเหตุบางประการได้

  8. สิทธิในการคัดค้านการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล (right to object) ท่านมีสิทธิในการคัดค้านการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของท่านด้วยเหตุบางประการได้

เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมีสิทธิข้างต้นทุกสิทธิ ดังนั้นเจ้าของข้อมูลสามารถร้องขอให้สำนักงาน ก.ล.ต. ปฏิบัติตามสิทธิที่เจ้าของข้อมูลมีได้ทุกสิทธิ โดยเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลสามารถร้องขอใช้สิทธิได้ผ่านทางระบบบริการยื่นขอใช้สิทธิในฐานะเจ้าของข้อมูล  

ทั้งนี้ เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลไม่จำเป็นต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ในการดำเนินตามสิทธิข้างต้น อย่างไรก็ดี สำนักงาน ก.ล.ต. จะดำเนินการตามที่เจ้าของข้อมูลร้องขอตามสิทธิหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับฐานในการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลและเหตุผลที่เจ้าของข้อมูลแจ้งมา ซึ่งเมื่อเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมีการร้องขอใช้สิทธิของตน สำนักงาน ก.ล.ต. จะมีการพิจารณาอนุมัติหรือปฏิเสธคำร้องขอท่าน และแจ้งผลกลับไปภายใน 30 วันนับตั้งแต่วันที่สำนักงานได้รับเอกสารคำร้องขอใช้สิทธิครบถ้วน หากเกิน 30 วันสำนักงาน ก.ล.ต. จะแจ้งสาเหตุของความล่าช้าในการแจ้งผลกลับให้เจ้าของข้อมูลทราบ ในกรณีที่สำนักงาน ก.ล.ต. ปฏิเสธคำร้องของท่าน สำนักงาน ก.ล.ต. จะแจ้งผลการปฏิเสธพร้อมเหตุผลกลับไปยังช่องทางติดต่อที่ท่านกำหนดไว้ หากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมีข้อสงสัยในการปฏิเสธ เจ้าของข้อมูลสามารถสอบถามเข้ามาได้ที่เจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของสำนักงาน ก.ล.ต. อีเมล: dpo@sec.or.th


การแจ้งการถือครองข้อมูลส่วนบุคคล

กรณีที่สำนักงาน ก.ล.ต. มีการถือครองข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน ทางสำนักงาน ก.ล.ต. จะมีการแจ้งให้ท่านทราบในประเด็นดังต่อไปนี้ในนโยบายความเป็นส่วนตัวของสำนักงาน ก.ล.ต.

  1. คำนิยามของข้อมูลส่วนบุคคล

  2. ข้อมูลส่วนบุคคลที่สำนักงานรวบรวม

  3. แหล่งที่มาของข้อมูลส่วนบุคคล

  4. วัตถุประสงค์ในการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล

  5. การประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล

  6. การเก็บรักษาและระยะเวลาในการเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคล

  7. สิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล

  8. กิจกรรมทางการตลาดและการส่งเสริมการตลาด (ถ้ามี)

  9. การเปลี่ยนแปลงนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

  10. ช่องทางการติดต่อสำนักงาน ก.ล.ต.


การใช้คุกกี้ของสำนักงาน ก.ล.ต.

สำนักงาน ก.ล.ต. จะจัดเก็บข้อมูลการเข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ จากผู้เข้าเยี่ยมชมทุกรายผ่านคุกกี้หรือ เทคโนโลยีที่ใกล้เคียง และสำนักงาน ก.ล.ต. จะใช้คุกกี้เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาประสิทธิภาพในการเข้าถึงและใช้งานบริการของสำนักงาน ก.ล.ต. โดยสำนักงาน ก.ล.ต. ใช้คุกกี้ดังต่อไปนี้

การใช้คุกกี้ขอ​​งสำนักงาน ก.ล.ต.

1. ​​คุกกี้จำเป็น เป็นคุกกี้สำหรับการทำงานพื้นฐานของเว็บไซต์ เช่นการจดจำตัวเลือกในการเยี่ยมชมเว็บไซต์ การรักษาความปลอดภัย การบริหารจัดการเครือข่าย การเข้าสู่ระบบ เป็นต้น ผู้ใช้งานสามารถปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้ได้ด้วยการตั้งค่าในเว็บเบราว์เซอร์ แต่อาจส่งผลต่อการทำงานและการใช้งานของเว็บไซต์

​​2. คุกกี้วิเคราะห์ เป็นคุกกี้สำหรับเก็บรวบรวมข้อมูลการใช้งานของผู้เข้าชมเว็บไซต์ โดยสำนักงาน ก.ล.ต. ใช้ข้อมูลคุกกี้นี้มาประมวลผลจัดทำรายงาน เพื่อการปรับปรุงประสิทธิภาพของเว็บไซต์ โดยคุกกี้นี้จะจัดเก็บข้อมูลที่ไม่ระบุตัวบุคคล ซึ่งผู้ใช้งานสามารถเลือกเปิดหรือปิดการใช้งานได้



 

นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของเว็บไซต์ อื่น

นโยบายความเป็นส่วนตัวฉบับนี้ ใช้เฉพาะสำหรับการให้บริการของสำนักงาน ก.ล.ต. และการใช้งานเว็บไซต์ ของสำนักงาน ก.ล.ต. เท่านั้น หากท่านได้กด link ไปยังเว็บไซต์อื่น (แม้จะผ่านช่องทางในเว็บไซต์ ของสำนักงาน ก.ล.ต. ก็ตาม) ท่านจะต้องศึกษาและปฏิบัติตามนโยบายความเป็นส่วนตัวที่ปรากฏในเว็บไซต์นั้น ๆ แยกต่างหากจากของสำนักงาน ก.ล.ต.


การเปลี่ยนแปลงประกาศความเป็นส่วนตัว

สำนักงาน ก.ล.ต. จะมีการทบทวนนโยบายความเป็นส่วนตัวเป็นระยะตามนโยบายของสำนักงาน เพื่อให้สอดคล้องกับแนวปฏิบัติ กฎหมายและข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงนโยบายความเป็นส่วนตัว สำนักงาน ก.ล.ต. จะมีการแจ้งให้ท่านทราบ พร้อมกับปรับปรุงประกาศความเป็นส่วนตัวในเว็บไซต์ ของสำนักงาน ก.ล.ต. ไปพร้อมกัน โดยเอกสารนโยบายความเป็นส่วนตัวที่แสดงบนหน้าเว็บไซต์ ของสำนักงาน ก.ล.ต. จะเป็นนโยบายความเป็นส่วนตัวฉบับล่าสุด และหากท่านต้องการศึกษานโยบายความเป็นส่วนตัวฉบับก่อนสามารถศึกษาได้ที่นี่​ 


เจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของสำนักงาน ก.ล.ต.

สำนักงาน ก.ล.ต. ได้มีการแต่งตั้งเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของสำนักงานขึ้นตามข้อกฎหมาย โดยมีหน้าที่ในการให้คำแนะนำในการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลภายในสำนักงาน ก.ล.ต. ดูแลการปฏิบัติงานภายในของสำนักงาน ก.ล.ต. ที่เกี่ยวข้องกับการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลให้เป็นไปตามนโยบายของสำนักงาน ก.ล.ต. และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง รวมถึงเป็นผู้ประสานงานหลักระหว่างเจ้าของข้อมูล สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และสำนักงาน ก.ล.ต.


การติดต่อสำนักงาน ก.ล.ต.

หากท่านมีประเด็น/ข้อสงสัยเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลของท่านหรือนโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของสำนักงาน ก.ล.ต. ท่านสามารถติดต่อหรือสามารถเข้ามาทำเรื่องสอบถามได้ที่ สำนักงาน ก.ล.ต. ตามช่องทางด้านล่างนี้

 

​ก​​ารติดต่อสำนักงาน ก.ล.ต.

ชื่อหน่วยงานภาษาไทย

สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์

ชื่อหน่วยงานภาษาอังกฤษ

The Securities and Exchange Commission, Thailand

สถานที่ติดต่อ

333/3 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900

ช่องทางการติดต่อสำนักงาน

Help Center: 1207

เบอร์โทรศัพท์: 0-2033-9999

อีเมล: info@sec.or.th

ช่องทางติดต่ออื่น ๆ

https://www.sec.or.th/TH/Pages/Home.aspx

https://www.facebook.com/sec.or.th

ช่องทางการติดต่อเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

อีเมล: dpo@sec.or.th

 


​​​
​​

​ฝ่ายจัดการและวิเคราะห์ข้อมูลตลาดทุน

โทรศัพท์ 0 2263 6168