Sign In
ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้


สรุปหลักเกณฑ์

คุณสมบัติผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้

(1)  เป็นสถาบันการเงินตามกฎหมายไทยในประเภทหนึ่งประเภทใดดังต่อไปนี้ 

(ก)  ธนาคารพาณิชย์ 

(ข)  บริษัทเงินทุนหรือบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ 

(ค)  สถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น  หรือ

(ง)  บริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ที่มิใช่การจัดการกองทุนรวมหรือการจัดการกองทุนส่วนบุคคล

(2)  มีสายงานที่รับผิดชอบการปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ที่ชัดเจน โดยอย่างน้อยต้องแยกส่วนงานที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการเป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ ออกจากส่วนงานที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ในการกระทำหน้าที่เป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ ตลอดจนมีโครงสร้างการจัดการและระบบการควบคุมภายในที่สามารถป้องกันการกระทำอันอาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้นกู้ 

(3)  มีกรรมการ ผู้จัดการ หรือผู้บริหารในสายงานที่รับผิดชอบงานด้านผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ ที่มีจริยธรรม มีความสามารถ หรือมีประสบการณ์ในธุรกิจที่จะดำเนินการ มีความซื่อสัตย์สุจริต มีความตั้งใจที่จะดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง มีความเข้าใจและรับผิดชอบต่อสาธารณชน และไม่มีลักษณะต้องห้าม

(4)  สายงานที่ดูแลรับผิดชอบงานด้านผู้แทนฯ มีจำนวนบุคลากรเพียงพอ และเป็นบุคลากรที่มีประสบการณ์ ความรู้ความเชี่ยวชาญพร้อมปฏิบัติงานได้อย่างเต็มที่ เพื่อดูแลรักษาผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้นกู้ตามภาระหน้าที่ของผู้แทนฯ ที่กำหนดไว้ในกฎหมาย

การกระทำตามอำนาจหน้าที่ของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ให้เป็นไปตามกฎเกณฑ์ที่กำหนด

(1) มีมาตรการที่เพียงพอในการกำกับดูแลให้ผู้แทนฯ ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรอบคอบ ระมัดระวัง เป็นไปตามที่ประกาศกำหนด ซึ่งรวมถึงหลักเกณฑ์ที่ บล. กำหนดไว้เป็นลายลักษณ์อักษร มีการกำกับดูแล ตรวจสอบ และการรายงานให้กับผู้บริหารรับทราบ

(2) มีมาตรการที่เพียงพอในการกำกับดูแลให้มั่นใจได้ว่า บล. ไม่ได้ปฏิบัติฝ่าฝืนข้อห้ามตามที่กฎหมายกำหนด  และเนื่องจากเป็นเรื่องเกี่ยวกับผลประโยชน์ของ บล. จึงควรกำหนดให้มีการรายงานผลต่อผู้บริหารที่ไม่มีส่วนได้เสีย

(3) มีการกำหนดแนวทางการปฏิบัติงานที่รัดกุม เพียงพอ มีบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญอย่างเพียงพอ รองรับการดูแลให้หลักประกันบังคับได้ตามกฎหมาย/มีมูลค่าเพียงพอตามที่ตกลงในข้อกำหนดสิทธิ

(4) มีการกำหนดแนวทางการปฏิบัติงานที่ชัดเจน เพียงพอ ให้ผู้ปฏิบัติงานรู้บทบาท หน้าที่ เมื่อเกิดกรณีที่ต้องดำเนินการแทนผู้ถือหุ้นกู้ เช่น กรณีผู้ออกหุ้นกู้แก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อกำหนดสิทธิ และ/หรือสัญญาที่เกี่ยวข้องกับหุ้นกู้ กรณีที่ผู้ออกหุ้นกู้ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดสิทธิ กรณีที่ผู้ออกหุ้นกู้ผิดนัดชำระต้นเงินหรือดอกเบี้ย หรือผิดเงื่อนไขเกี่ยวกับเงินทุน เพื่อการไถ่ถอน การดำเนินการเรียกร้องค่าเสียหาย รวบรวมและแจกจ่ายทรัพย์สินที่ได้จากการเรียกร้องค่าเสียหาย บังคับหลักประกัน หรือบังคับชำระหนี้ให้ผู้ถือหุ้นกู้ เป็นต้น


คู่มือ/แนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง


ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

​ฝ่ายตราสารหนี้

โทรศัพท์ 0-2263-6569

Email : debt@sec.or.th