Sign In
เกี่ยวกับ ก.ล.ต.

​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​ความร่วมมือกับต่างประเทศ

ก.ล.ต. ร่วมมือกับหน่วยงานกำกับดูแล และองค์กรต่าง ๆ ในต่างประเทศอย่างใกล้ชิด เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามยุทธศาสตร์ด้านต่าง ๆ และพัฒนาตลาดทุนไทยให้ทัดเทียมสากล ตัวอย่างความร่วมมือกับต่างประเทศ มีดังนี้ 

 

International Organization of Securi​ties Commissions (IOSCO)

Alternative Investment Fund ​Managers Directive (AIFMD)​

 

​- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - 


International Organization of Securities Commissi​ons (IOSCO)

 

IO​SCO เป็นองค์กร ก.ล.ต. นานาชาติ ที่ทำหน้าที่กำกับดูแลและพัฒนาตลาดทุนของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2526 โดย ก.ล.ต. ได้เข้าเป็นสมาชิกประเภทสามัญ (มีสิทธิออกเสียงในการประชุม) ตั้งแต่ปี 2535 และเป็นสมาชิกในคณะกรรมการชุดต่าง ๆ ได้แก่ Presidents’ Committee, Growth and Emerging Markets Committee (GEMC) และ Asia-Pacific Regional Committee (APRC)  รวมทั้งได้เข้าร่วมในคณะทำงานต่าง ๆ ของ IOSCO มาโดยตลอด 

ก.ล.ต. เคยได้รับเ​ลือกให้ดำรงตำแหน่งประธาน APRC ในช่วงปี 2548-2551 ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าประเทศสมาชิกให้ความสำคัญต่อพัฒนาการของตลาดทุนไทยว่ามีบทบาทสำคัญในภูมิภาค​เอเชีย-แปซิฟิกและยอมรับถึงการดำเนินงานของ ก.ล.ต. ในการกำกับดูแลและพัฒนาตลาดทุนไทยและการให้ความร่วมมืออย่างจริงจังในการแลกเปลี่ยนข้อมูล ความคิดเห็น และประสบการณ์ ตลอดจนร่วมมือศึกษาในประเด็นต่าง ๆ กับประเทศสมาชิกของ IOSCO 


  • ​​IOSCO Multilateral Memorandum of Understanding Concerning Consultation and Co-operation and the Exchange of Information (IOSCO MMoU)

ก.ล.ต. ได้รับการอนุมัติจาก IOSCO ในการประชุมใหญ่ประจำปี 2551 ให้เข้าเป็นภาคีใน IOSCO MMoU ซึ่งเป็นข้อตกลงในระดั​บพหุภาคีว่าด้วยการแลกเปลี่ยนข้อมูลและความร่วมมือด้านการบังคับใช้กฎหมาย เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศในการป้องกันและป้องปรามการทำธุรกรรมผิดกฎหมายในตลาดทุนและตลาดอนุพันธ์ ส่งผลให้ ก.ล.ต. ได้เข้าร่วมเป็นหนึ่งในหน่วยงานกำกับดูแลหลักทรัพย์และอนุพันธ์ทั่วโลก 126 ราย และเป็นหนึ่งใน 19 รายของภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกที่เป็นภาคีใน IOSCO MMoU ดังกล่าว (ข้อมูล ณ เดือนกรกฎาคม ปี 2565)

IOSCO MMoU ถือเป็นกลไกสำคัญในการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานกำกับดูแลตลาดทุนต่าง ๆ ซึ่งได้รับการยอมรับ​ในวงกว้าง  การเป็นภาคีใน IOSCO MMoU จึงช่วยยกระดับความร่วมมือระหว่างสำนักงานกับหน่วยงานกำกับดูแลในต่างประเทศ  และส่งเสริมประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฎหมายของสำนักงาน ผลสำเร็จนี้สะท้อนให้เห็นความมุ่งมั่นของ ก.ล.ต. ในการยกระดับมาตรฐานการกำกับดูแลตลาดทุนไทยให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล 

อ่านรายละเอียดเกี่ยวกับ IOSCO MMoU​ เพิ่มเติมได้ที่ https://www.iosco.org/about/?subsection=mmou


 

  • IOSCO Asia-Pacific Regional Committee (APRC)
    ก.ล.ต. มีบทบาทสำคัญอย่างต่อเนื่องในฐานะสมาชิกกลุ่ม ก.ล.ต. ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (IOSCO APRC) ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกจาก 24 หน่วยงานกำกับดูแล (ข้อมูล ณ เดือนกรกฎาคม ปี 2563) โดย ก.ล.ต. เคยดำรงตำแหน่งประธาน IOSCO APRC 2 วาระติดต่อกัน ในช่วงปี 2548 -2551 

นอกจากนี้ ในปี 2555 กลต. ได้เป็นเจ้าภาพการประชุม IOSCO APRC  พร้อมทั้งจัดเสวนาในการระดมทุนผ่านตลาดทุนและโอกาสในการขยายตัวของธุรกิจจัดการลงทุนในภูมิภาคอีกด้วย

อ่านรายละเอียดเกี่ยวกับ IOSCO APRC​ เพิ่มเติมได้ที่ https://www.iosco.org/about/?​subsection=display_committee&cmtid=6 

 

  • IOSCO Board Member
    นอกจากการมีบทบาทสำคัญในเวที IOSCO แล้ว ก.ล.ต. ยังได้รับเลือกเป็นตัวแทนจากหน่วยงานกำกับดูแลตลาดทุนในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ให้เป็นกรรมการในคณะกรรมการองค์กร ก.ล.ต. นานาชาติ (Board of International Organization of Securities Commissions: IOSCO Board) จากการเลือกตั้งเมื่อเดือนกันยายน 2557  โดยมีวาระการดำรงตำแหน่งระหว่างปี 2557-2559  ทำให้ ก.ล.ต. มีส่วนในการกำกับดูแลการดำเนินงานของ IOSCO รวมทั้งให้ความเห็นชอบในการออกมาตรฐานสากลในการกำกับดูแลตลาดทุนร่วมกับประเทศสมาชิกชั้นนำอื่น ๆ อาทิ สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย และฮ่องกง

นอกจากนี้ ก.ล.ต. ยังได้เข้าร่วมในคณะทำงานของ IOSCO ด้วยจำนวน คณะ ได้แก่

1. Policy Committee on International Accounting, Auditing, and Disclosure Standards ซึ่งคณะทำงานนี้มีบทบาทในการจัดทำมาตรฐานและให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับมาตรฐานวิชาชีพบัญชีระหว่างประเทศ การตรวจสอบบัญชี และการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์แก่ผู้ลงทุน การเข้าร่วมในคณะทำงานนี้ทำให้ ก.ล.ต. มีส่วนในการรับทราบและให้ความเห็นเกี่ยวกับพัฒนาการของมาตรฐานวิชาชีพ ได้ติดตามความเคลื่อนไหวในระดับสากล และที่สำคัญคือ สามารถให้ความเห็นต่อร่างมาตรฐานวิชาชีพบัญชีระหว่างประเทศ และนำเสนอปัญหาอุปสรรคของประเทศไทยในการปฏิบัติตามมาตรฐานสากลให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในตลาดทุนไทยได้รับทราบ

อ่านรายละเอียดเกี่ยวกับ Policy Committee on International Accounting, Auditing, and Disclosure Standards เพิ่มเติมได้ที่ https://www.iosco.org/about/?ubsection=disp​lay_committee&cmtid=12​

 

2. Policy Committee on Retail Investors โดยคณะทำงานนี้เป็นคณะทำงานที่จัดตั้งขึ้นในปี 2556 เพื่อดำเนินงานในเชิงนโยบายที่เกี่ยวกับการให้ความรู้ผู้ลงทุน รวมถึงการเสริมสร้างความรู้พื้นฐานด้านการเงิน และให้ข้อเสนอแนะต่อ IOSCO Board ในประเด็นที่เกี่ยวกับการให้ความคุ้มครองผู้ลงทุนรายย่อย โดย ก.ล.ต. เห็นว่า การเข้าร่วมคณะทำงานคณะนี้มีความสำคัญและจะเป็นประโยชน์ต่อการกำกับดูแลและพัฒนาตลาดทุนไทยเป็นอย่างมาก เนื่องจากตลาดทุนไทยมีสัดส่วนผู้ลงทุนรายย่อยสูง และ ก.ล.ต. ให้ความสำคัญในเรื่องการพัฒนาและให้ความคุ้มครองผู้ลงทุนรายย่อยเป็นอย่างมาก  รวมทั้งเป็นการเปิดโอกาสให้สำนักงานได้ใช้ประสบการณ์ในการร่วมพัฒนาเรื่องการให้ความรู้กับผู้ลงทุนกับหน่วยงานกำกับดูแลอื่น ๆ ทั่วโลก

อ่านรายละเอียดเกี่ยวกับ Policy Committee on Retail Investor​ เพิ่มเติมได้ที่ https://www.iosco.org/about/?subsection=display_committee&cmtid=20

 

3. Growth and Emerging M​​​​arkets Committee เป็นคณะทำงานซึ่งมีบทบาทในการกำหนดและดำเนินนโยบายที่สำคัญต่าง ๆ เกี่ยวกับ growth and emerging markets ​ซึ่งประกอบด้วยหน่วยงานกำกับและดูแลตลาดทุนชั้นนำที่มุ่งมั่นสร้างความแข็งแกร่งให้กับตลาดเกิดใหม่ รวมทั้งเพิ่มคว​ามเห็นของกลุ่มประเทศเกิดใหม่ให้มีส่วนร่วมในการกำหนดเกณฑ์การกำกับดูแลตลาดทุนโลก โดยคณะทำงานกลุ่มนี้ มีเป้าหมายในการระบุความเสี่ยงและประเด็นที่สำคัญต่อตลาดทุนของประเทศเหล่านี้ด้วยกระบวนการเชิงรุก รวมทั้งเพิ่มขีดความสามารถในการกำกับดูแลให้กับหน่วยงานกำกับดูแลที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมีสมาชิกคิดเป็น 80ของสมาชิก IOSCO ทั้งหมดด้วย

อ่านรายละเอียดเกี่ยวกับ Growth and Emerging Markets Committee ได้ที่ http://www.iosco.org/about/?subsection=display_committee&cmtid=8

 ​

 

ASEAN Capital Markets Foru​m (ACMF)​​

 

ACMF จัดตั้งขึ้นในปี 2547 เพื่อเป็นเวทีสำหรับหน่วยงานกำกับดูแลตลาดทุนในภูมิภาคอาเซียนในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์เชิงนโยบายระหว่างกันเพื่อพัฒนาตลาดทุนในภูมิภาค โดย ก.ล.ต. มีบทบาทสำคัญในการจัดตั้งและได้รับเลือกเป็นประธาน ACMF ระหว่างเดือนสิงหาคม 2551 - กันยายน 2553 และหลังจากนั้น ตำแหน่งประธาน ACMF จะหมุนเวียนตามตำแหน่งประธานอาเซียน 

 

  • การเชื่อมโยงตลาดทุนอาเซียน

ก.ล.ต. ในฐานะประธาน ACMF ขณะนั้นได้มีบทบาทสำคัญในการจัดทำแผนปฏิบัติการเชื่อมโยงตลาดทุนอาเซียน 2554 – 2558 (Implementation Plan 2009 - 2015) เพื่อให้การเชื่อมโยงตลาดทุนสามารถดำเนินการได้อย่างเป็นขั้นตอน เพิ่มศักยภาพและความสามารถในการแข่งขันกับตลาดทุนในภูมิภาคอื่นได้ และส่งเสริมให้ตลาดทุนอาเซียนมีความเป็นสินค้าเพื่อการลงทุน (asset class) ที่น่าสนใจและเป็นที่ยอมรับของผู้ ลงทุนทั่วโลก ซึ่งสอดคล้องกับแผนการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนภายในปี 2558 (ASEAN Economic Blueprint 2015)  ทั้งนี้ แผนการเชื่อมโยงตลาดทุนอาเซียนได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียน ครั้งที่ 13 เมื่อเดือนเมษายน 2552 ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ 

ภายหลังจากแผนปฏิบัติการเชื่อมโยงตลาดทุนอาเซียน 2554-2558 สิ้นสุดลง ACMF ได้ร่วมกันจัดทำแผนฯ ฉบับใหม่ เพื่อให้สอดรับกับวิสัยทัศน์ของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนปี 2568 (ASEAN Economic Community Vision 2025)  และได้แบ่งแผนดังกล่าวเป็น 2 ระยะ ได้แก่ (1) แผนปฏิบัติการเชื่อมโยงตลาดทุนอาเซียนระหว่างปี 2559 – 2563 (ACMF Action Plan 2016 – 2020) และ (2) แผนปฏิบัติการเชื่อมโยงตลาดทุนอาเซียนระหว่างปี 2564 – 2568 (ACMF Action Plan 2021 – 2025) ซึ่งเป็นแผนฯ ฉบับปัจจุบัน 

ในการจัดทำแผนปฏิบัติการเชื่อมโยงตลาดทุนอาเซียนระหว่างปี 2564 – 2568 นี้ ACMF ได้รับความช่วยเหลือจากธนาคารพัฒนาเอเชีย (Asian Development Bank: ADB)  และได้พัฒนาแผนปฏิบัติการเชื่อมโยงตลาดทุนอาเซียนดังกล่าวขึ้นจากการรวบรวมความเห็นของผู้มีส่วนร่วมในตลาดทุนอาเซียนทุกภาคส่วน ซึ่งมีทั้งหน่วยงานกำกับดูแลตลาดทุน ผู้ประกอบธุรกิจในตลาดทุนและในภาคธุรกิจที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นแนวทางการดำเนินงานในการพัฒนาตลาดทุนอาเซียนร่วมกันในช่วง 5 ปีข้างหน้า และเกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติต่อทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง

คลิกเพื่ออ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ACMF และ แผนปฏิบัติการเชื่อมโยงตลาดทุนอาเซียน  2564-2568 (ACMF Action Plan 2021 - 2025​

การดำเนินงานที่สำคัญในช่วงแผนปฏิบัติการเชื่อมโยงตลาดทุนอาเซียน 2554 – 2558, 2559 - 2563 และ 2564 - 2568 ได้แก่

​​​• ​​ASEAN Collective Investment Schemes Framework (ASEAN CIS Framework)

ก.ล.ต. ร่วมกับหน่วยงานกำกับดูแลตลาดทุนมาเลเซีย (Securities Commission Malaysia) และสิงคโปร์ (Monetary Authority of Singapore) ได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจด้านการกำหนดแนวทางการยอมรับมาตรฐานหน่วยลงทุนซึ่งกันและกัน เพื่อเปิดให้มีการเสนอขายกองทุนรวมข้ามประเทศในอาเซียน (ASEAN CIS Framework) เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2556 โดย ACMF ได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจฉบับปรับปรุงเพื่อรับฟิลิปปินส์เข้าเป็นภาคีเพิ่มเติมใน framework นี้แล้ว เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2564 

ภายใต้ ASEAN CIS Framework ดังกล่าว หน่วยงานกำกับดูแลทั้งสี่หน่วยงาน จะใช้มาตรฐานกลางในการพิจารณาคุณสมบัติของกองทุนรวมที่จะอนุญาตให้มีการเสนอขายข้ามกัน และคุณสมบัติของบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ที่จะจัดตั้งกองทุนรวมดังกล่าว ซึ่งจะช่วยลดขั้นตอนในกระบวนการขออนุญาตเสนอขายกองทุนรวมแบบข้ามประเทศ อันจะเป็นการเพิ่มโอกาสให้ บลจ. มีช่องทางตรงที่มีประสิทธิภาพในการเสนอขายหน่วยลงทุนระหว่างกันในประเทศสมาชิก ทั้งนี้ คณะทำงานอยู่ระหว่างจัดทำคลังข้อมูลดิจิทัลสำหรับโครงการ ASEAN CIS (ASEAN CIS Digital Repository) เพื่อรวบรวมและเผยแพร่ข้อมูลของ ASEAN CIS รวมทั้งจะดำเนินการร่วมกันเพื่อผลักดันให้เกิดการจัดทำมาตรฐานด้านการเปิดเผยข้อมูลของกองทุนรวมเพื่อความยั่งยืนที่สอดคล้องกันและแนวทางการอำนวยความสะดวกในเสนอขายระหว่างสมาชิกในกลุ่มอาเซียนต่อไป



​· อ่านรายละเอียดของ ASEAN CIS Framework คลิก: Standards of Qualifying ASEAN CIS 

​· อ่านรายละเอียดคู่มือแนวทางสำหรับ บลจ. คลิก: Handbook for CIS Operators of ASEAN CISs  

​​​• ​​​Professional Mobility Framework

ก.ล.ต. ร่วมกับหน่วยงานกำกับดูแลตลาดทุนฟิลิปปินส์ (Securities and Exchange Commission, Philippines) มาเลเซีย และสิงคโปร์ได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจเพื่ออำนวยความสะดวกในการเคลื่อนย้ายบุคลากรผ่าน ACMF Pass ในการประชุม ACMF ระดับเลขาธิการ เมื่อเดือนตุลาคม 2561 โดยบุคลากรที่ทำหน้าที่วิเคราะห์และแนะนำการลงทุนซึ่งถูกกำกับดูแลจากประเทศต้นทางสามารถมาขออนุมัติ ACMF Pass จากหน่วยงานกำกับดูแลตลาดทุนของประเทศปลายทาง เพื่อให้บริการวิเคราะห์และแนะนำการลงทุนในประเทศนั้น ๆ

อีกทั้งในการประชุม ACMF ระดับเลขาธิการเมื่อเดือนมีนาคม 2562 ทั้ง 4 หน่วยงานได้มีการลงนามในบันทึกความเข้าใจเพื่ออำนวยความสะดวกในด้านการเผยแพร่บทวิเคราะห์หลักทรัพย์ ซี่งอนุญาตให้นำบทวิเคราะห์หลักทรัพย์ที่ออกเสนอขายมาแล้วในอาเซียน ได้แก่ หุ้น หนี้ หน่วยลงทุน และศุกูก ที่ถูกจัดทำโดยผู้ได้รับอนุญาตและได้มีการเผยแพร่บทวิเคราะห์นั้นให้แก่ผู้ลงทุนประเภทเดียวกันในประเทศต้นทางแล้ว มาเผยแพร่ในประเทศปลายทางได้ 

(อ่านรายละเอียดของ Handbook on the ACMF Pass คลิก: Handbook on the ACMF Pass)

​​​•​ ACMF Roadmap for ASEAN Sustainable Capital Market (Roadmap)

ในปี 2562 ซึ่ง ก.ล.ต. ดำรงตำแหน่งประธาน ACMF ได้มีบทบาทสำคัญในการผลักดันการจัดทำ Roadmap for ASEAN Sustainable Capital Markets (Roadmap) ร่วมกับสมาชิก ACMF ทั้ง 9 ประเทศ ซึ่ง Roadmap ดังกล่าวเป็นแผนงานที่กระทรวงการคลังเลือกให้เป็นหนึ่งในผลงานสำคัญ (key deliverables) ของภาคการเงิน ในวาระการเป็นประธานอาเซียนของไทย ภายใต้แนวคิด “Advancing Partnership for Sustainability" โดยได้รับการรับรองจากที่ประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียน (ASEAN Finance Ministers' Meeting: AFMM) ในเดือนเมษายน 2562 ก่อนที่ ACMF จะได้รับการสนับสนุนจากธนาคารพัฒนาเอเชีย (Asian Development Bank: ADB) ในการจัดทำแนวทางการดำเนินงานภายใต้ Roadmap เพื่อให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติต่อภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ซึ่ง ACMF ได้เห็นชอบร่วมกันในแนวทางดังกล่าว รวมถึงได้ข้อสรุปแผนงานที่จะเริ่มดำเนินการก่อนในระยะ 5 ปีแรกแล้ว ในการประชุม ACMF ระดับเลขาธิการเมื่อเดือนมีนาคม 2563 

โดย ACMF ร่วมกับหน่วยงานกำกับดูแลของภาคการเงินที่เกี่ยวข้อง ภายใต้ ASEAN Taxonomy Board ได้จัดทำมาตรฐานและเกณฑ์การจัดหมวดหมู่ด้านการเงินที่ยั่งยืนของอาเซียน ฉบับที่ 1 (ASEAN Taxonomy for Sustainable Finance Version 1) แล้วเสร็จซึ่งได้มีการเผยแพร่บน ACMF Website เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2564 เพื่อขอรับความคิดเห็นและใช้ในแนวทางการพัฒนาในระยะต่อไป นอกจากนี้ ACMF ยังอยู่ระหว่างดำเนินการตามแผน Roadmap เพื่อส่งเสริมด้านความยั่งยืน อาทิ การพัฒนามาตรฐาน/เกณฑ์กลางสำหรับการเสนอขาย ASEAN Sustainable and Responsible Fund การจัดทำมาตรฐานและเกณฑ์การจัดหมวดหมู่ด้านการเงินที่ยั่งยืนของอาเซียน และการพัฒนา ASEAN Sustainability Linked Bond (SLB) ที่เหมาะสมกับบริบทของอาเซียน เป็นต้น 

(อ่านรายละเอียดของ Roadmap คลิก: Roadmap for ASEAN Sustainable Capital Markets) ​ 

(อ่านรายละเอียดของ ASEAN Taxonomy for Sustainable Finance Version 1 คลิก: https://www.theacmf.org/initiatives/sustainable-finance/asean-taxonomy)

 


​• ASEAN Disclosure Standards

ก.ล.ต. ร่วมกับหน่วยงานกำกับดูแลตลาดทุนมาเลเซียและสิงคโปร์ ประกาศใช้มาตรฐานอาเซียนเรื่องการเปิดเผยข้อมูลในการเสนอขายหลักทรัพย์ (ASEAN Disclosure Standards) เมื่อวันที่ เมษายน 2556  เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ออกหลักทรัพย์ที่ต้องการระดมทุนโดยการเสนอขายหลักทรัพย์ประเภทตราสารทุนและตราสารหนี้ที่ไม่ซับซ้อนหลายประเทศในอาเซียนพร้อมกัน สามารถจัดทำเอกสารเปิดเผยข้อมูลและหนังสือชี้ชวนชุดเดียวกัน ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการระดมทุนให้กับผู้ออกหลักทรัพย์

(อ่านรายละเอียดของ ASEAN Disclosure Standards คลิก: The ASEAN Disclosure Standards)

• ​​Streamlined Review Framework for ASEAN Common Prospectus
ก.ล.ต. ร่วมกับหน่วยงานกำกับดูแลตลาดทุนมาเลเซียและสิงคโปร์ รวมทั้งตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ (Singapore Exchange) ได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจ เพื่อให้กระบวนการพิจารณาคำขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่เปิดเผยข้อมูลตาม ASEAN Disclosure Standards ข้างต้น สามารถกระทำได้รวดเร็วขึ้นในระหว่างการประชุม ACMF ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2558

​โดยการลงนามในบันทึกความเข้าใจในครั้งนี้  ผู้ออกหลักทรัพย์ที่ต้องการระดมทุนโดยการเสนอขายตราสารทุนและตราสารหนี้ที่ไม่ซับซ้อน จะต้องเปิดเผยข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ตาม ASEAN Disclosure Standards โดยประเทศที่ทำหน้าที่หลักในการกำกับดูแล (Home Authority) จะพิจารณาคุณสมบัติและความครบถ้วนของข้อมูลที่เปิดเผย พร้อมกับประสานงานกับหน่วยงานกำกับดูแลในอีกประเทศหนึ่งที่จะมีการเสนอขายหลักทรัพย์พร้อมกัน (Host Authority) และแจ้งผลการพิจารณาภายใน 3-4 เดือนนับจากวันที่ยื่นคำขอและเอกสารครบถ้วน

​ต่อมาคณะทำงานภายใต้ ACMF ยังได้มีการปรับแก้มาตรฐาน ASEAN Disclosure Standards เพิ่มเติมเพื่อขยายขอบเขตให้ครอบคลุมถึงการเสนอขายตราสารหนี้แบบโครงการ (Medium Term Note Program:  MTN Program) และได้มีการลงนามในบันทึกความเข้าใจ เพื่อการขยายขอบเขตดังกล่าวในการประชุม ACMF ระดับเลขาธิการ เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2562 ​

 

International Forum of Independent ​Audit Regulators (IFIAR)


 ​ก.ล.ต. ได้เข้าเป็นสมาชิก International Forum of Independent Audit Regulator (IFIAR) เมื่อเดือนกันยายน 2553 โดยหน่วยงานที่จะเป็นสมาชิก IFIAR ได้ต้องมีความเป็นอิสระจากผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี ทำหน้าที่กำกับดูแลผู้สอบบัญชีอย่างสม่ำเสมอ และเป็นไปตามมาตรฐานสากล

IFIAR เป็นองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับการกำกับดูแลผู้สอบบัญชีและสำนักงานสอบบัญชี ก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนกันยายน 2549 เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับการกำกับดูแลผู้สอบบัญชีและสำนักสอบบัญชี ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างหน่วยงานกำกับดูแล และเป็นช่องทางในการติดต่อและประสานงานกับหน่วยงานระหว่างประเทศที่มีความสนใจในเรื่องการควบคุมคุณภาพงานสอบบัญชี

อ่านรายละเอียดเกี่ยวกับ IFIAR เพิ่มเติมได้ที่ http://www.ifiar.org​ 


 

ASEAN Audit Regulators Wo​rking Group


 ASEAN Audit Regulators Working Group ก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2553 ภายใต้ความร่วมมือของ ก.ล.ต. Audit Oversight Board of Malaysia และ Accounting and Corporate Regulatory Authority of Singapore เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงานกำกับดูแลการสอบบัญชีของประเทศอาเซียนในการยกระดับคุณภาพงานสอบบัญชี โดยการจัดประชุมร่วมกันอย่างสม่ำเสมอ เพื่อเป็นช่องทางในการแลกเปลี่ยนข้อมูล ความรู้ และประสบการณ์ในการกำกับดูแลการสอบบัญชี รวมถึงเปิดโอกาสให้มีความร่วมมือในรูปแบบต่าง ๆ ระหว่างองค์กรกำกับดูแลการสอบบัญชีในอนาคต และช่วยผลักดันให้องค์กรกำกับดูแลการสอบบัญชีในกลุ่มประเทศอาเซียนมีอำนาจในการเจรจาต่อรองในเวทีโลกมากยิ่งขึ้นต่อไปในอนาคต อีกทั้งยังเป็นการสนับสนุนแผนการเชื่อมโยงตลาดทุนในกลุ่มประเทศอาเซียนและการเสนอขายหลักทรัพย์ข้ามประเทศ ในอันที่จะทำให้มาตรฐานการเปิดเผยข้อมูลทางการเงินมีมาตรฐานที่ใกล้เคียงกัน โดย ณ ปัจจุบันมีประเทศสมาชิกทั้งหมด 4 ประเทศ ได้แก่ ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์​


 

การลงนามในบันทึกความเข้าใจ (Memorandum ​of Understanding: MoU)

 ก.ล.ต. เสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีกับองค์กรกำกับดูแลตลาดทุนของต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง เพื่อความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ รวมทั้งความช่วยเหลือทางด้านการตรวจสอบภายใต้ขอบเขตที่กฎหมายแต่ละประเทศอนุญาตให้ดำเนินการได้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการกำกับดูแลและการบังคับใช้กฎหมาย โดยปัจจุบัน ก.ล.ต. ได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจและหนังสือแสดงเจตจำนง กับองค์กรกำกับดูแลตลาดทุนของประเทศอื่น 28 องค์กร (รวม 34 ฉบับ)​ และเป็นภาคีในข้อตกลงพหุภาคีว่าด้วยการแลกเปลี่ยนข้อมูลและความร่วมมือด้านการบังคับใช้กฎหมาย (IOSCO Multilateral Memorandum of Understanding: IOSCO MMoU)

ก.ล.ต. ใช้บันทึกความเข้าใจเป็นกลไกในการแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการตรวจสอบโดยมีการระบุข้อตกลงและเงื่อนไขในการดำเนินการและการรักษาความลับของข้อมูลที่ไม่พึงเปิดเผยต่อสาธารณะไว้อย่างชัดเจน ซึ่งบันทึกความเข้าใจในระดับทวิภาคีมีส่วนสำคัญที่ช่วยให้การทำงานขององค์กรกำกับดูแลตลาดทุนประสบความสำเร็จในการตรวจสอบ โดยองค์กรต่างประเทศที่ ก.ล.ต. ได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจด้วย ได้แก่ 

 


Aut​horityJurisdictionวันที่

1.

Comisión Nacional de Valores (CNV)

Argentina

6 พฤศจิกายน 2540

2.

Australian Securities and Investments Commission (ASIC)

Australia

18 เมษายน 2540

3.

Comissão de Valores Mobiliários (CVM)

Brazil

31 ตุลาคม 2540

4.

Monetary Authority of Brunei Darussalam (MABD)

Brunei

25 ตุลาคม 2560

5.

Securities and Exchange Commission of Cambodia

Cambodia

2 เมษายน 2557

17 กันยายน 2562

6.

Superintendencia de Valores y Seguros de Chile

Chile

6 พฤศจิกายน 2538

7.

China Securities Regulatory Commission (CSRC)

China

11 เมษายน 2550

8.

Financial Affairs Office of Kunming Municipal People's Government (FAKM)

China

8 เมษายน 2556

9.

Financial Supervisory Commission (FSC)

Chinese Taipei

18 มิถุนายน 2539

10.

Securities and Futures Commission (SFC)

Hong Kong

12 พฤศจิกายน 2536

 

24 พฤศจิกายน 2547
(Letter of Intent)

20 มกราคม 2564
(Mutual Recognition of Funds)

11.

Securities and Exchange Board of India (SEBI)

India

10 เมษายน 2550

12.

Financial Services Authority (OJK)

Indonesia

15 ตุลาคม 2546

13.

Israel Securities Authority (ISA)

Israel

17 กรกฎาคม 2549

14.

Financial Services Agency (FSA)

Japan

25 กุมภาพันธ์ 2557 (Exchange of Letter)

15.

Financial Service Commission / Financial Supervisory Service 

Korea

12 มิถุนายน 2555

16. 

Securities and Exchange Commission Office

Lao PDR

29 มิถุนายน 2554

9 มีนาคม 2558

17.

Commission de Surveillance du Secteur Financier (CSSF)

Luxembourg

28 พฤศจิกายน 2555 

7 มิถุนายน 2564
(Information sharing regarding Fintech and Innovation in their respective financial markets)

18.

Securities Commission (SC)

Malaysia

4 เมษายน 2537

19.

Securities and Exchange Commission of Myanmar (SECM)

Myanmar

16 ตุลาคม 2560

20

Central Bank of Myanmar (CBM)

Myanmar

13 พฤษภาคม 2556

21

Capital Market Authority - Sul tanate of Oman (CMA)

Oman

8 พฤษภาคม 2561

22.

Monetary Authority of Singapore (MAS)

Singapore

15 กันยายน 2548

16 สิงหาคม 2550

23.

Financial Services Board of South Africa (FSB)

South Africa

19 พฤศจิกายน 2543

24.

Securities and Exchange Commission of Sri Lanka (SEC)

Sri Lanka

10 ธันวาคม 2544

25.

Dubai Financial Services Authority (DFSA)

United Arab Emirates

12 มีนาคม 2549

26.

Emirate Securities and Commodities Authority (ESCA)

United Arab Emirates

16 กรกฎาคม 2550

2​7.

State Securities Commission (SSC)

Vietnam

24 พฤศจิกายน 2549

​28.

​The United Kingdom of Great Britain and Northern Ireland

​Foreign, Commonwealth and Development Office

1 กันยายน 2563



 

Alternative Investment Fund Managers Direct​​ive (AIFMD)

 

นอกจากนี้ ก.ล.ต. ยังได้เข้าร่วมลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MOU) ว่าด้วยความร่วมมือระหว่างหน่วยงานกำกับดูแลตลาดทุนในยุโรป โดยประสานงานกับ European Securities and Markets Authority (ESMA) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่เป็นตัวแทนหน่วยงานกำกับดูแลตลาดทุนของแต่ละประเทศในสหภาพยุโรปและเป็นหน่วยงานที่ออกเกณฑ์ Alternative Investment Fund Managers Directive (AIFMD) โดย AIFMD นี้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 22 กรกฎาคม 2556 เพื่อเป็นการกำกับดูแลบริษัทจัดการลงทุนที่จัดการหรือเสนอขายกองทุนใด ๆ ซึ่งมิได้เข้าข่ายเป็น Undertakings for Collective Investment in Transferable Securities (UCITS)* 

 

หลักเกณฑ์ AIFMD ดังกล่าว จะส่งผลกระทบต่อตลาดทุนไทยในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจไทยมีการดำเนินธุรกิจหรือมีธุรกรรม ดังต่อไปนี้

1. เสนอขายกองทุนไทยในยุโรป

2. จัดตั้งและจัดการกองทุนในยุโรป

3. รับจ้างบริหารกองทุนให้กองทุนในยุโรป

4. กองทุนในยุโรปมีการนำเงินมาลงทุนในกองทุนไทยมากกว่าร้อยละ 85 ของ NAV ของกองทุนในยุโรป (หมายเหตุในกรณีที่กองทุนไทยมีการนำเงินไปลงทุนในกองทุนยุโรป บลจ.ไทยไม่ต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดใน AIFMD อย่างไรก็ดี MOU ครอบคลุมถึงการให้ความร่วมมือสำหรับกรณีที่กองทุนไทยนำเงินไปลงทุนในกองทุนในยุโรป)​


 

(หนังสือเวียน ที่ กลต.กธ.(ว) 35/2556 เรื่อง การซักซ้อมความเข้าใจเรื่องการดำเนินงานในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจไทยจะดำเนินธุรกิจหรือทำธุรกรรมกับประเทศในทวีปยุโรปภายใต้หลักเกณฑ์ AIFMD)

ปัจจุบัน ก.ล.ต. ได้ลงนามใน MOU กับองค์กรกำกับดูแลตลาดทุนในประเทศสมาชิกในสหภาพยุโรป 22 ประเทศ และประเทศใน European Free Trade Association (EFTA) อีก 3 ประเทศ รวมทั้งสิ้น 25 องค์กร ตามตารางที่ปรากฏด้านล่าง​ โดย MOU ดังกล่าวมีการกำหนดขอบเขตเกี่ยวกับการปรึกษาหารือ การให้ความร่วมมือและการแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับการกำกับดูแล alternative investment fund managers ที่มีการประกอบกิจการแบบ cross-border ในประเทศคู่ภาคี​

ในปัจจุบัน มีกองทุนที่จัดตั้งโดยบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนของไทยไปเสนอขายในประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปผ่านกลไกดังกล่าวแล้ว

 ​​​​

ประเท​​ศ หน่วยงาน ​
วันที่
1. Austria Financial Market Authority 22 กรกฎาคม 2556
2. Bulgaria Financial Supervision Commission 22 กรกฎาคม 2556
3. Cyprus Cyprus Securities and Exchange Commission 22 กรกฎาคม 2556
4. Czech Republic   Czech National Bank 22 กรกฎาคม 2556
5. Denmark Finanstilsynet (Financial Supervisory Authority) 22 กรกฎาคม 2556
6. Estonia Estonia Financial Supervision Authority 22 กรกฎาคม 2556
7. Finland Finanssivalvonta (Financial Supervisory Authority) 22 กรกฎาคม 2556
8. France Autorité des Marchés Financiers 19 กันยายน 2557
9. Greece Hellenic Capital Market Commission 22 กรกฎาคม 2556
10.  Hungary

Pénzűgyi Szervezetek Állami Felűgyelete

(The Central Bank of Hungary)

22 กรกฎาคม 2556
11. Iceland

Fjármálaeftirlitið

(Financial Supervisory Authority)

22 กรกฎาคม 2556
12. Ireland Central Bank of Ireland 22 กรกฎาคม 2556
13. Latvia Finanšu un kapitāla tirgus komisija 22 กรกฎาคม 2556
14. Liechtenstein

Finanzmarktaufsicht

(Financial Market Authority)

22 กรกฎาคม 2556
15. Lithuania Bank of Lithuania 22 กรกฎาคม 2556
16. Luxembourg Commission de Surveillance du Secteur Financier 22 กรกฎาคม 2556
17. Malta Malta Financial Services Authority 22 กรกฎาคม 2556
18. Norway

Finanstilsynet

(Fin ancial Supervisory Authority)

22 กรกฎาคม 2556
19. Poland Polish Financial Supervision Authority 22 กรกฎาคม 2556
20. Portugal

Comissão do Mercado de Valores Mobiliários

(Securities Market Commission)

22 กรกฎาคม 2556
21. Romania Romanian Financial Supervisory Authority 22 กรกฎาคม 2556
22. Slovak Republic Národná banka Slovenska 22 กรกฎาคม 2556
23. Spain Comisión Nacional del Mercado de Valores 22 กรกฎาคม 2556
24. Sweden Finansinspektionen 22 กรกฎาคม 2556
25. The Netherlands

Autoriteit Financiële Markten

(Netherlands Authority for the Financial Markets)

22 กรกฎาคม 2556


 

หมายเหตุ

* สามารถดูรายละเอียดของเกณฑ์ UCITS เพิ่ม​เติมได้ที่ European Commission


 

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

​​ฝ่ายยุทธศาสตร์และการต่างประเทศ 

โทรศัพท์ 0-2263-6255 หรือ 0-2033-9671​