Sign In
กฎเกณฑ์

​​​​​​​​​​การจัดการกองทุนรวม


15. การควบ / รวม กองทุนรวม


การควบกองทุนรวม

A + B = C


การรวมกองทุนรวม

A + B = A หรือ B


เงื่อนไข

(1) ทำได้เฉพาะกองทุนรวมที่อยู่ภายใต้ บลจ. เดียวกัน

(2) บลจ. ต้องพิจารณ​าผลกระทบต่อผู้ถือหน่วยลงทุน

(3) ต้องได้รับมติจากผู้ถือหน่วยลงทุนตามหลักเกณฑ์ที่ระบุไว้ในโครงการและข้อผูกพัน

(4) ช่วงระหว่างการขอมติ จะต้องเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินการควบรวมกองทุนให้ผู้ถือหน่วยลงทุนรับรู้และเข้าใจสถานะของกองทุนหากเกิดการควบรวม

4.1) สถานะการลงทุนปัจจุบัน 

4.2) สรุปประเด็นเปรียบเทียบสาระสำคัญและความแตกต่าง

4.3) ลักษณะที่เปลี่ยนแปลงหลังการควบรวม

4.4) ขั้นตอนการดำเนินงานพร้อมระยะเวลา

4.5) สิทธิของผู้ถือหน่วยลงทุน

4.6) รายงาน ประมาณการฐานะการเงินของกองทุนที่จะควบรวมหรือกองใหม่

4.7) การดำเนินการนโยบายการจ่ายเงินปันผลก่อนและหลังควบรวม

4.8) ค่าใช้จ่ายในการควบรวมกองทุนรวมที่จะเรียกเก็บจากผู้ถือหน่วยลงทุนและกองทุน

4.9) ข้อดี ข้อเสีย เช่น ค่าใช้จ่าย ความเสี่ยง สิทธิประโยชน์​

(5) บลจ. ต้องให้สิทธิผู้ถือหน่วยลงทุนที่คัดค้าน / ไม่แสดงเจตนาออกจากกองทุนได้ก่อนการควบรวมแล้วเสร็จ ภายในระยะเวลาที่เพียงพอและเป็นธรรม


มติที่จะต้องได้รับจากผู้ถือหน่วยลงทุน

(1) กรณีควบรวมกองทุนระหว่างกองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุน ความเสี่ยง และระดับความเสี่ยงของการลงทุน (risk spectrum) เดียวกัน ต้องได้รับมติเสียงข้างมากของแต่ละกองทุนรวม

(2) กรณีควบรวมกองทุนระหว่างกองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุน ความเสี่ยง และระดับความเสี่ยงของการลงทุน (risk spectrum) แตกต่างกัน ต้องได้รับมติพิเศษของแต่ละกองทุนรวม

(3) ในเอกสารขอมติให้ บลจ.

3.1) กำหน​ดรายละเอียดโครงการและข้อผูกพันใหม่

3.2) ขอมติเพื่อเลิกก​องทุน

3.3) ขอมติเพื่อเปลี่ยนสภาพกองทุนรวมปิด (Closed​-End Fund : CEF) เป็นกองทุนรวมเปิด (Opened-End Fund : OEF) (กรณีมีการเปลี่ยนสภาพกองทุนรวม)

 


ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

ฝ่ายนโยบายผู้ประกอบธุรกิจ​

โทรศัพท์ 0-2033-9756​