การจัดการกองทุนรวม
การจัดการกองทุนรวม บริษัทหลักทรัพย์ต้องดำเนินการ (ม.125) ดังนี้
จัดการให้เป็นไปตามโครงการจัดการกองทุนรวม (ม. 129)
จัดให้มีการฝากทรัพย์สินของกองทุนรวมไว้กับผู้ดูแลผลประโยชน์
จัดทำบัญชีแสดงการลงทุนของกองทุนรวม
จัดทำรายงานการลงทุนให้ผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวมทราบ
จัดให้มีทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุน
จัดให้ได้มาซึ่งผลประโยชน์ที่ได้จากการนำทรัพย์สินของกองทุนรวมไปลงทุน และนำผลประโยชน์ดังกล่าวฝากไว้กับผู้ดูแลผลประโยชน์
ทั้งนี้ ในการจัดการกองทุนรวม ห้ามมิให้บริษัทหลักทรัพย์กระทำการ (ม.126) เช่น การกระทำใดที่มีลักษณะอาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนตามหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกำหนด หรือการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหุ้นของบริษัทหลักทรัพย์ที่เป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการนั้นเอง เป็นต้น อย่างไรก็ดี บริษัทหลักทรัพย์อาจลงทุนหรือมีไว้ซึ่งหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอื่นที่อยู่ภายใต้การบริหารจัดการของบริษัทหลักทรัพย์เดียวกันได้ต่อเมื่อได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกำหนด และเปิดเผยไว้อย่างชัดเจนในโครงการจัดการกองทุนรวมและหนังสือชี้ชวน (ม.126/1)
หน้าที่ของผู้ดูแลผลประโยชน์ (ม.127 และ ม.128)
ดูแลให้บริษัทหลักทรัพย์ปฏิบัติตาม ม.125
รับฝากทรัพย์สินของกองทุนรวมโดยแยกไว้ต่างหากจากทรัพย์สินอื่น
จัดทำบัญชีแสดงการรับจ่ายทรัพย์สินของกองทุนรวม
จัดทำรายงานเสนอต่อสำนักงาน ในกรณีที่บริษัทหลักทรัพย์กระทำการ หรืองดเว้นกระทำการจนก่อให้เกิดความเสียหายแก่กองทุนรวม หรือไม่ปฏิบัติหน้าที่ตาม ม.125
ดำเนินการฟ้องร้องบังคับคดีให้บริษัทหลักทรัพย์ปฏิบัติตามหน้าที่ของตน หรือฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนความเสียหายจากบริษัทหลักทรัพย์
สรุปหลักเกณฑ์
1.
อำนาจสั่งการของ ก.ล.ต.
2.
ผู้จัดการกองทุน
3.
การวัดผลการดำเนินงาน
4.
การจัดทำงบการเงินของกองทุนรวม
5.
การกำหนดหลักเกณฑ์เพิ่มเติม
6.
การคำนวณและประกาศมูลค่าทรัพย์สิน (NAV)
7.
การดำเนินการกรณีมูลค่าหรือราคาหน่วยลงทุนไม่ถูกต้อง (Incorrect Pricing)
8.
การขายและรับซื้อคืนหน่วยลงทุน
9.
การจัดทำรายงานของกองทุนรวม
10.
การแก้ไขเพิ่มเติมโครงการ
11.
การเพิ่มเงินทุนจดทะเบียนและเงินทุนโครงการ
12.
การแบ่งชนิดหน่วยลงทุน
13.
การเปลี่ยนสภาพกองทุนรวมจากปิดเป็นเปิด
14.
การควบ/รวม กองทุนรวม
15.
การดำเนินการกรณีผู้ออกตราสารผิดนัดชำระหนี้
16.
การใช้สิทธิออกเสียงในที่ประชุมผู้ถือหุ้น
17.
การจ่ายเงินปันผล
18.
ค่าธรรมเนียม
19.
การเลิกกองทุนรวม
20.
การผ่อนผัน
21.
หลักเกณฑ์เพิ่มเติมกองทุนรวมมีประกัน
22.
หลักเกณฑ์เพิ่มเติมกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF)
23.
หลักเกณฑ์เพิ่มเติมกองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ
(FIF)
24.
หลักเกณฑ์เพิ่มเติมกองทุนรวมสำหรับผู้ลงทุนในต่างประเทศ
(Country Fund)
25.
หลักเกณฑ์เพิ่มเติมกองทุนรวมหุ้นระยะยาว
(LTF)
26.
หลักเกณฑ์เพิ่มเติมกองทุนรวมอีทีเอฟ
(ETF)
27.
หลักเกณฑ์เพิ่มเติมกองทุนรวมหมวดอุตสาหกรรมที่มุ่งลงทุนในหมวดพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ (Property Sector Fund)
28. กองทุนรวมตลาดเงินที่กำหนดราคาหน่วยลงทุนคงที่ (MMF constant NAV)
29. การลงทุนในกองทุนรวมภายใต้ บลจ. เดียวกัน
กฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง
คู่มือ/แนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง
คำอธิบายนี้มีขึ้นเพื่อประโยชน์ในการเข้าใจสาระสำคัญของกฎหมายเท่านั้น ส่วนการจะปฏิบัติตามกฎหมายให้เป็นไปอย่างถูกต้องนั้น ประชาชนจะต้องศึกษา ทำความเข้าใจ ตรวจสอบ และยึดถือตัวบทกฎหมายเป็นสำคัญ