Sign In
การประเมิน

​​​​​​​​​​ระดับประเทศ


 

ASEAN CG​ Scorecard 

CG-ROSC​

CG Watch

Doing Business

Dow Jones Sustainability Indices

Corruption Perception Index: CPI ​


 

ASEAN CG Scorecard 


โครงการประเมิน การกำกับดูแลกิจการที่ดีของบริษัทจดทะเบียนในภูมิภาคอาเซียน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการยกระดับธรรมาภิบาลหรือการกำกับดูแลกิจการที่ดีของบริษัทจดทะเบียนในภูมิภาคอาเซียนให้ทัดเทียมสากลเพื่อรองรับการเปิดเสรีของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนและเพื่อส่งเสริมให้ตลาดทุนอาเซียนเป็นที่สนใจและยอมรับของผู้ลงทุนทั่วโลก
 
เกณฑ์การประเมิน
 
อิงกับหลักการขององค์กรเพื่อความร่วมมือและพัฒนาทางเศรษฐกิจ (Organization for Economic Co-operation and Development Centre: OECD) ธนาคารโลก  International Corporate Governance Network   Asian Corporate Governance Association  และ Code of Corporate Governance ของบางประเทศ เช่น ออสเตรเลีย อังกฤษ เป็นต้น โดยผู้ประเมินคือ CG expert ของแต่ละประเทศ ซึ่งของไทย คือ สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) การประเมินจะอาศัยข้อมูลที่เปิดเผยเป็นภาษาอังกฤษผ่านเอกสารและช่องทางต่างๆ เช่น หนังสือเชิญและรายงานการประชุมผู้ถือหุ้น รายงานประจำปี ข่าวของบริษัท หรือข้อมูลบนเว็บไซต์ เป็นต้น ซึ่งผู้ประเมินจะดูทั้งข้อมูลในเชิง Policy และในเชิง Practice

ผลการประเมิน ASEAN CG Scorecard  สามารถดูข้อมูลได้จาก 2 แหล่ง ดังนี้ 
IOD

ASEANCapital Markets Forum (ACMF)


 

 
 ​
โครงการประเมินผลการปฏิบัติตามมาตรฐานสากลด้านบรรษัทภิบาล หรือโครงการ CG-ROSC  (Report on the Observance of Standards and Codes: Corporate Governance Country Assessment) เป็นโครงการที่ประเมินว่าตลาดทุนของประเทศนั้น
มีกฎเกณฑ์และการปฏิบัติเป็นไปตามมาตรฐานสากลมากน้อยเพียงใด โดยผู้ประเมิน คือ ธนาคารโลก (World Bank)
 
การเข้าร่วมโครงการประเมินจะขึ้นกับความสมัครใจของแต่ละประเทศ ดังนั้น ความถี่ห่างของการประเมินจึงไม่เท่ากัน และเมื่อผลการประเมินเสร็จสิ้นแล้ว ก็ยังขึ้นอยู่กับความสมัครใจของประเทศนั้น ๆ อีกด้วยว่าจะยินยอมให้มีการเผยแพร่รายงานดังกล่าวหรือไม่  นอกจากนี้ การเข้ารับการประเมินตามโครงการไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย เพียงแต่ต้องให้ความร่วมมือในการให้ข้อมูล และช่วยประสานงานหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในประเทศ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ของธนาคารโลกสามารถเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อประเมินผลได้ โดยประเทศไทยเข้าร่วมประเมินครั้งแรกปี พ.ศ. 2548
 
เกณฑ์การประเมิน
 
ธนาคารโลกประเมินบรรษัทภิบาลของตลาดทุนตามหลักการขององค์กรเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (Organization for Economic Cooperation and Development) หรือที่เรียกว่า OECD Principles ซึ่งประกอบด้วย 6 หมวด ได้แก่
 
                    1. การบังคับใช้กฎหมายและกรอบการดำเนินการด้านบรรษัทภิบาล​
                    2. สิทธิของผู้ถือหุ้น
                    3. การปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นอย่างเท่าเทียมกัน
                    4. บทบาทของผู้มีส่วนได้เสียของบริษัท
                    5. การเปิดเผยข้อมูลและความโปร่งใส
                    6. ความรับผิดชอบของคณะกรรมการ​
หมายเหตุ : หมวดการประเมินของ OECD Principle ณ ปี 2013
 


 
 

การประเมินการกำกับดูแลกิจการของตลาดทุนในเอเชีย ที่จัดทำโดย Asian Corporate Governance Association และ CLSA Asia-Pacific Markets โดยการประเมินโดยล่าสุดแบ่งออกเป็น 7 หมวด ดังนี้

  1. Government & public governance
  2. Regulators
  3. CG Rules
  4. Listed companies
  5. Investors
  6. Auditors & audit regulators
  7. Civil society & media 


 
 
Doing Business เป็นรายงานผลการศึกษาเพื่อจัดอันดับความยาก-ง่ายในการเข้าไปประกอบธุรกิจในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ซึ่งธนาคารโลกจัดทำขึ้น โดยศึกษาเกี่ยวกับขั้นตอนและระยะเวลาการให้บริการ การอำนวยความสะดวก ต้นทุนค่าใช้จ่าย และกฎหมาย กฎ ระเบียบต่าง ๆ ของรัฐว่ามีส่วนสนับสนุน หรือเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินธุรกิจอย่างไร โดยมุ่งเน้นธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ซึ่งมีตัวชี้วัดในการศึกษา 10 ด้าน ครอบคลุมพื้นฐานของวงจรธุรกิจตั้งแต่การเริ่มต้นจัดตั้งธุรกิจจนถึงการปิดกิจการ
 
เกณฑ์การประเมิน
 
แบ่งออกเป็น 4 เรื่องได้แก่
                1. ความง่ายในการดำเนินการ (Easier) เป็นการวัดเรื่องขั้นตอนในการดำเนินการ
                2. ความรวดเร็วในการดำเนินการ (Faster) เป็นการวัดเรื่องระยะเวลาการดำเนินการ
                3. ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการต่ำ (Cheaper) เป็นการวัดเรื่องค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมในการดำเนินการ
                4. กฎหมาย กฎ ระเบียบเอื้อต่อการดำเนินการ (Smarter regulations) 
 

 
 
ดัชนี Dow Jones Sustainability Indices ("DJSI") เป็นดัชนีหลักทรัพย์ของบริษัทชั้นนำระดับโลกที่ผ่านการประเมินความยั่งยืน ตามตัวชี้วัดด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ซึ่งผู้ลงทุนสถาบันทั่วโลกให้การยอมรับและใช้เป็นข้อมูลในการลงทุน โดยแบ่งเป็น 24 กลุ่มอุตสาหกรรมหลัก ซึ่งประกอบด้วย 60 อุตสาหกรรมย่อย ที่มีผู้ลงทุนสถาบันและกองทุนต่าง ๆ ทั่วโลกให้ความสนใจลงทุนคิดเป็นมูลค่าเงินลงทุนกว่า 5 พันล้านเหรียญสหรัฐ โดยจะมีการทบทวนและประกาศรายชื่อสมาชิกในกลุ่มดัชนี DJSI ในช่วงเดือนกันยายนของทุกปี
 
กระบวนการคัดเลือกสมาชิก DJSI World และ DJSI Emerging Markets
 

กระบวนการคัดเลือกสมาชิก DJSI World
 
กระบวนการคัดเลือกสมาชิก DJSI Emerging Market
 

 

ดัชนีชี้วัดภาพลักษณ์ปัญหาคอร์รัปชัน (Corruption Perceptions Index : CPI) จัดทำโดย องค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ (Transparency International : TI) เป็นองค์กรอิสระที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อรณรงค์แก้ไขปัญหาคอร์รับชัน ซึ่งมีเครือข่ายใน 180 ประเทศทั่วโลก  ร่วมกับมหาวิทยาลัย Gottingen ประเทศเยอรมนี จัดอันดับภาพลักษณ์คอร์รัปชันในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกขึ้นเป็นประจำทุกปีตั้งแต่ปี พ.ศ. 2538 เป็นต้นมา  


 
เกณฑ์การประเมิน
สำรวจจากระดับความรู้สึก การรับรู้ของกลุ่มตัวอย่างต่อปัญหาคอร์รัปชันในประเทศนั้นๆ โดยข้อมูลที่ใช้ในการจัดทำ CPI เป็นข้อมูลจากการสำรวจของแหล่งข้อมูล อาทิ สำนักโพลล์ต่างๆ หน่วยงานวิจัยที่มีชื่อเสียง สถาบัน และองค์การอิสระระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นที่ยอมรับทั่วโลกแตกต่างกันไปในแต่ละปี เช่น Economist Intelligence Unit สำนักแกลลัปโพลล์ สถาบันเพื่อการพัฒนาการบริหารการจัดการ IMD ที่ปรึกษาความเสี่ยงทางธุรกิจและทางการเมือง World Bank World Economic Forum หน่วยงานในองค์การสหประชาชาติ เป็นต้น ค่า CPI มีค่าคะแนนตั้งแต่ 0 (คอร์รัปชันมากที่สุด) - 100 (คอร์รัปชันน้อยที่สุด)​
 ​

ผลการประเมิน


 

​ที่มา: ข้อมูลจาก Transparency International (TI)​​